ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
          ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินกิจกรรมยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยการลงพื้นที่เพื่อจัดประชุมเชิงปฏิบัติการและติดตามกิจกรรมยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
           พื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรม “การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่”  ด้วยการยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ปรับปรุงอาชีพตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ความรู้เทคโนโลยีมากขึ้น ตลอดจนการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้เกิดรายได้และผลผลิตที่เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการจัดการ และช่องทางการตลาด สู่เป้าหมายยกระดับตำบลให้ดีขึ้น ในการสร้างสัมมาชีพในพื้นที่ ส่งเสริมเกษตรพอเพียงและอาหารปลอดภัย และจัดการวิสาหกิจชุมชน นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลัก (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายข้อที่ 1 “No Poverty” ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ เป้าหมายข้อที่ 8 “Decent work and Economic Growth” ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและทั่วถึงให้เป็นไปอย่างยั่งยืน ส่งเสริมศักยภาพการมีงานทำ และการจ้างงานเต็มที่ และงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน และเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ได้มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บูรณาการระหว่างศาสตร์และสร้างความร่วมมือทั้งหน่วยงานภายในและนอกของมหาวิทยาลัย
           ในการนี้ คณะทำงานโครงการฯ คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมองค์ความรู้ที่เหมาะสมเพื่อยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ตามความต้องการและปัญหาของอาชีพหลักในพื้นที่ อาทิ
     กลุ่มเกษตรกรชาวสวนผู้ปลูกผัก พริก ฝรั่ง ด้วยการจัดกิจกรรมการขยายสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช (กำจัดโรคและแมลงศัตรู) ที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ พร้อมบริการให้คำปรึกษาการนำสารชีวภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง ในพื้นที่ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง
     กลุ่มเกษตรกรชาวประมง การบริการให้คำปรึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง/ การปฏิบัติที่ดีในการดูแลรักษาหลังการจับสัตว์น้ำตามมาตรฐานสินค้าเกษตร /องค์ความรู้ด้านชีววิทยาของสัตว์น้ำชายฝั่งและบ่มเพาะนักสื่อความหมาย ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ในตำบลหน้าสตน ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร และตำบลท่าพยา อำเภอปากพนัง  
     กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร การบริการให้คำปรึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาตรฐานรับรองมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ (GAP) ส่งเสริมสุขภาพสุกรที่ดี ฯลฯ พื้นที่ตำบลไทยบุรี อำเภอท่าศาลา
           ทั้งนี้ คณะทำงานโครงการฯ จะนำข้อมูลดังกล่าว เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการกลุ่ม และการบริหารการเงินกลุ่ม ส่งเสริมขยายช่องทางการตลาด (ในและนอกชุมชน/ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์) ในขั้นตอนการดำเนินงานขั้นต่อไป
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ยกระดับขีดความสามารถเกษตรกรในการผลิตและจัดการสินค้าชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล (U2T): มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จำนวนคนดู: 215