ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ กองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทาง High Scope
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ กองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทาง High Scope
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ กองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทาง High Scope
          เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย อาจารย์ ดร.พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ สำนักวิชาการจัดการ พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ จัด “กิจกรรมอบรมการจัดมุมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทาง High scope” ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ด้วยโปรแกรม ZOOM ให้แก่บุคคากรของกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี นำโดย ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และคณะครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโคกเหล็ก โดยทีมวิทยากรจากโรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
          โครงการเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาของเด็กปฐมวัย (ECEEP)  ภายใต้โครงการวิชาการรับใช้สังคม (WU – Social engagement) ปีงบประมาณ 2564 มุ่งเน้นยกระดับขีดความสามารถและปิดช่องว่างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบ “High Scope” กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 392 ศูนย์ 154 องค์การบริหารส่วนตำบล 27 อำเภอ ครอบคลุมเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ระยะเวลาการดำเนินโครงการ 5 ปี โดยในปีงบประมาณ 2564 จะเป็นการดำเนินงานในระยะที่ 1 การสำรวจสถานการณ์เด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช และยกระดับคุณภาพการศึกษาสถานศึกษานำร่อง (Pilot project) ด้วยหลักสูตร High scope ใน ศพด.สังกัดอบต.ไทยบุรี  โดยผลลัพธ์โครงการมุ่งก่อให้เกิดผลผลิตเชิงนวัตกรรมในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กปฐมวัยและนำไปเป็นต้นแบบในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยของท้องถิ่นต่อไปในอนาคต ตลอดจนตอบโจทย์ตามแนวทางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายข้อที่ 4 “Quality Education” ส่งเสริมทำให้ได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals”มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บูรณาการระหว่างศาสตร์และสร้างความร่วมมือ ที่ผ่านมาได้ดำเนินการสำรวจสถานการณ์เด็กปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช นำคณะบุคคลากรศึกษาดูงานสำหรับสถานศึกษานำร่อง (Pilot project) ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงของดำเนินการนำร่อง (Pilot project) ตามแนวทาง High Scope ด้วยการขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด อบต.ไทยบุรี โดยได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจและวาง landscape เพื่อเตรียมการจัดมุมและสำรวจความต้องการในการจัดมุม
          ในการนี้ อาจารย์ ดร.พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์ สำนักวิชาการจัดการ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรมอบรมดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการจัดมุมการเรียนรู้ตามหลัก High-Scope จากโรงเรียนสมานคุณวิทยาทาน ศูนย์อบรม High Scope ของไรซ์ไทยแลนด์แห่งแรกในภาคใต้ โดยมีการบรรยายสรุปการจัดการเรียนการสอน และขั้นตอนและวิธีการจัดมุมการเรียนรู้ คณะครูศพด.นำเสนอสภาพปัญหา ความต้องการ และทรัพยากรที่มีสำหรับการจัดมุมการเรียนรู้ฯ พร้อมเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการจัดมุมการเรียนรู้ฯ ทั้งนี้ คณะทำงานโครงการฯ และกองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี จะนำข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนมาสังเคราะห์ เพื่อปรับรูปแบบและแนวทางการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ในขั้นตอนต่อไป
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ กองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทาง High Scope
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ กองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทาง High Scope
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ กองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทาง High Scope
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ กองการศึกษาฯ อบต.ไทยบุรี ขับเคลื่อนกิจกรรมการจัดห้องเรียน “มุม” และการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตามแนวทาง High Scope
จำนวนคนดู: 63