ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ รับมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ รับมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ รับมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์
          เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ร่วมรับมอบงบประมาณสนันสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์ จำนวน 550,000 บาท จากบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด โดยมี คุณผลใหม่ จิระยิ่งพันธ์ ผู้จัดการศูนย์ขนส่งทางอากาศนครศรีธรรมราช และคุณจิราภรณ์ โชติช่วง เจ้าหน้าที่อาวุโส ฝ่ายกิจการสัมพันธ์ เป็นตัวแทนผู้บริหารส่งมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาฯ ณ ห้องโมคลาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
          ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ กล่าวถึงรายละเอียดการดำเนินงานของโครงการ และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะกำหนดจัดขึ้นในระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกและกระบวนการที่สำคัญ ส่งเสริมการเรียนรู้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศ และการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและอย่างยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 50 คน รูปแบบการอบรมประกอบด้วย
     1. การบรรยาย อบรม: ในส่วนของเนื้อหา โดยมีผู้บรรยายจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆที่เชี่ยวชาญทั่วประเทศ รวมทั้งนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
     2. ภาคปฏิบัติการ: การจัดแสดง สาธิตและฝึกปฏิบัติจริงจากผู้ชำนาญ โดยนักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติได้ไปพร้อมกัน เช่น การจัดจำแนกตัวอย่างสัตว์น้ำ, การเก็บรักษาตัวอย่างกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและมีกระดูกสันหลัง, การถ่ายรูปตัวอย่างเพื่อใช้ในงานวิจัย เป็นต้น เพื่อช่วยให้ผู้เรียนไม่เบื่อ มีกิจกรรมสลับเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น
     3. การทำโครงการวิจัยขนาดเล็กหรือหัวข้อสัมมนา: หลังจากจบการศึกษาภาคบรรยายและปฏิบัติการ
          ทั้งนี้ คุณผลใหม่ จิระยิ่งพันธ์ และศาสตราจารย์ ดร.วรรณา ชูฤทธิ์ เป็นตัวแทนผู้บริหารของทั้งสองฝ่ายกล่าวขอบคุณในความร่วมมือการดำเนินการจัดโครงการดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการจัดโครงการค่ายนิเวศวิทยาฯ ในปีนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการจากบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด จำนวน 550,000 บาท โดยศูนย์บริการวิชาการ มีบทบาทหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ รับสมัคร คัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนการประสานความร่วมมือไปยังอาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเล และระบบนิเวศวิทยาทางทะเลจากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากทั่วประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้าร่วมโครงการต่อไป
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ รับมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ รับมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ รับมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ รับมอบงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 28 รูปแบบออนไลน์
จำนวนคนดู: 82