ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง“การทบทวนแผนปฏิบัติการ วทน. สู่ภูมิภาค : ภาคใต้” ประจำปีงบประมาณ 2562

               กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผน วทน. สู่ภูมิภาค (ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 – 2564)” กลุ่มภาคใต้ ประจำปี พ.ศ.2562 เพื่อทบทวนกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่การพัฒนาภูมิภาค รวมถึงทบทวนแผนงานและโครงการในระยะเวลา 4 ปี โดยครั้งนี้จัดขึ้นที่ภาคใต้ จังหวัดสงขลา เพื่อให้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีกลุ่มภาคใต้ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการในปีงบประมาณต่อไป และสร้างการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่าย ในการนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวอัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมมอบแนวนโยบายการบูรณาการและขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 – 8 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช รีสอร์ท จังหวัดสงขลา
               ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ได้มอบแนวทางนโยบายการบูรณาการให้แก่เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการกลุ่มภาคใต้ ว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน กลุ่มวิสาหกิจ จนไปถึงระดับผู้ประกอบการ SME เพื่อให้การนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง เติบโต อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่นยืน ทั้งในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 การประชุมในครั้งนี้ ก็เพื่อทบทวนถึงสิ่งที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปีที่ผ่านมา ว่าควรมีการปรับปรุง แก้ไข หรือมุ่งเน้นไปในทิศทางใด ซึ่งต้องย้อนกลับมามองเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันโครงการต่างๆ จนประสบผลสำเร็จ หรือกลไกของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีสถาบันการศึกษาเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่ชุมชนต่างๆ หน้าที่ของเรา คือ ต้องทำให้ประชาชน ชุมชน ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ด้วยพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
               โครงการต่างๆ ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับ คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายได้ทำร่วมกันมาเกือบ 20 ปี ต้องกลับมาทบทวนว่า ในความเป็นจริงแล้ว ชุมชนต้องการอะไร และสิ่งที่จะนำไปถ่ายทอดให้คืออะไร ต้องปรับให้สอดรับกับบริบทในพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงของประเทศด้วย การดำเนินงานควรจะเดินไปทิศทางเดียวกัน ผลักดันให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นที่รู้จัก และทำให้ชุมชนเกิดการรับรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของ วทน. สร้าง impact ให้เกิดขึ้นกับชุมชน สำหรับทิศทางการพัฒนาภาคใต้ คือ ภาคใต้เป็นเมืองท่องเที่ยวพักตากอากาศระดับโลก เป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางพาราและปาล์มน้ำมันของประเทศ และเมืองเศรษฐกิจเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับภูมิภาคอื่นของโลก สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ แบ่งกลุ่มจังหวัด เป็น ภาคใต้ 2 สมุทร และภาคใต้ชายแดน สำหรับกลุ่มภาคใต้ 2 สมุทร นั้น โครงการที่จะเกิดขึ้นอาจจะเป็นโครงการที่นำไปพัฒนาด้านการเกษตร โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาคนี้

               ด้านนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมฯ ในครั้งนี้ ว่า สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี/ ได้ดำเนินงานตามภารกิจ/ ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน/ โดยผ่านกลไกเครือข่ายความร่วมมือที่เรียกว่า “คลินิก เทคโนโลยี”/ ซึ่งในภาคใต้มีเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีจำนวน 20 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 12 จังหวัดในทั้งหมด 14 จังหวัดภาคใต้ การขับเคลื่อนงานด้าน วทน. หรือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นพลังอีกปัจจัยหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีโครงการศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาค ภาคใต้ หรือ ศวภ.3 ซึ่งรับผิดชอบ 14 จังหวัดภาคใต้ มีภารกิจในการจัดทำแผนงาน/ โครงการด้าน วทน. เพื่อการพัฒนาจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ปรับกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนงานด้วย วทน. สู่การพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12 โดยได้ร่วมกับเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีภาคใต้ จัดทำห่วงโซ่คุณค่าด้าน วทน. จำนวน 4 ห่วงโซ่คุณค่า หรือ Value Chain ตามอัตลักษณ์ภูมิภาคและกลุ่มจังหวัด ได้แก่ 1การบริหารจัดการแพะครบวงจร ด้วย วทน.เพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้/ 2. การใช้ วทน. เพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและบริการภาคใต้/ 3. การพัฒนาผลไม้แบบครบวงจรด้วย วทน.ในพื้นที่ภาคใต้/ 4. การใช้ วทน.เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านสมุนไพร พื้นที่ภาคใต้ เป็นต้น
               ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการอนุมัติงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน“แผนปฏิบัติการ วทน. สู่ภูมิภาค (พ.ศ.2562-2564) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562” ภายใต้ Platform 3 : BCE และ Platform 4 : VCCI โดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
          1.โครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี จำนวนงบประมาณ 530,000 บาท (ห้าแสนสามหมื่นบาทถ้วน) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร เป็นหัวหน้าโครงการ
          2.โครงการการพัฒนาท่าศาลาสู่การเป็นเมืองต้นแบบเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวนงบประมาณ 450,000 บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน) โดยมี อาจารย์สุนทร บุญแก้ว สำนักวิชาการจัดการ เป็นหัวหน้าโครงการ
รวมเป็นจำนวนงบประมาณทั้งสิ้น 980,000 บาท (เก้าแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานของคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภายใต้สังกัดของศูนย์บริการวิชาการ
               สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ นั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และ โครงการส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชม เพื่อเข้าร่วมรับฟัง การทบทวนกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่การพัฒนาภูมิภาค (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564) : กลุ่มภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมถึงแผนงานและโครงการในระยะ 4 ปี ตามห่วงโซ่คุณค่าดังกล่าว พร้อมมอบนโยบายและข้อคิดเห็นการดำเนินงานโครงการของคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย อีกด้วย

จำนวนคนดู: 40