ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โครงการการพัฒนาท่าศาลาสู่การเป็นเมืองต้นแบบเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยสำนักวิชาการจัดการ และศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมจัดกิจกรรมประชุมกลุ่มย่อยกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และผู้ประกอบการ

          ด้วยโครงการการพัฒนาท่าศาลาสู่การเป็นเมืองต้นแบบเพื่อการศึกษาเรียนรู้ ท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยมีอาจารย์ สุนทร  บุญแก้ว อาจารย์ประจำจากหลักสูตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหัวหน้าโครงการฯ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ภายใต้การดำเนินงานโครงการพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ (Social Engagement)

          เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 2 อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรมการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) สรุปผลการศึกษาการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบนฐานอัตลักษณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในอุตสาหกรรม พื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกศรา สุกเพชร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชคชัย สุเวชวัฒนกูล หัวหน้าแผนงานแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในอุตสาหกรรมบริการ จังหวัดนครศรีธรรมราช จากคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และคณะ โดยได้รับทุนอุดหนุนโครงการจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปีงบประมาณ 2562

          จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับการจัดลำดับให้เป็นเมืองรอง ซึ่งหมายถึงเมืองที่ยังไม่มีมูลค่าทางเศรษกิจในปริมาณที่สูง เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ รูปแบบการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้แก่พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน จากการดำเนินตามแผนงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์บนฐานอัตลักษณ์ของพื้นที่เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการและเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของพื้นทื่ และสามารถนำอัตลักษณ์ที่เกิดจากการพัฒนาด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วมดังกล่าวไปใช้ในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมการบริการอันเกิดจากการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เกิดการเสริมสร้างประสิทธิภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมทั้งเป็นการต่อยอดการพัฒนาตามแผนการวิจัยที่ได้ศึกษาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

          จากเวทีประชุมในวันดังกล่าว ได้ตกผลึกแนวความคิดการพัฒนาพื้นที่ด้วยการท่องเที่ยวร่วมกันของอำเภอขนอม สิชล ท่าศาลา ให้การท่องเที่ยวเป็นแหล่งรายได้เสริม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของชุมชนโดยไม่ทำลายวิถีวัฒนธรรมชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำเภอท่าศาลา ผู้เข้าร่วมประชุมฯได้ร่วมกันคิด ร่วมกันเริ่มสร้างแบรนด์ของพื้นที่โดยที่ยึดตามจุดเด่นและกิจกรรมในพื้นที่นั้นๆ และสร้างโลโก้ของแต่ละอำเภอขึ้นเพื่อปรับแบรนด์มาใช้ในทำการตลาดให้กิจกรรมที่มีจากประเด็นที่ได้จากการค้นหาและพัฒนาอัตลักษณ์การท่องเที่ยวของพื้นที่การท่องเที่ยว จากการพูดคุยกับชมรมท่องเที่ยวขนอม สิชล และท่าศาลาโดยสามารถสรุปอัตลักษณ์ของพื้นที่ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่ทางการท่องเที่ยว ทั้ง 3 อำเภอ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และแนวทางการตลาดการสื่อสารผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบนฐานอัตลักษณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SME) ในอุตสาหกรรมบริการ ให้คนในชุมชน มีส่วนร่วมในการออกไอเดียเพื่อพัฒนาและต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ กิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน และเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในการทำการตลาด รวมถึงเข้าใจในกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการเลือกใช้แพ็คเกจจิ้งที่เหมาะสมกับสินค้าและโลโก้ของแต่ละอำเภอ โดยมีกระบวนการในการศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแนวทางการตลาดการสื่อสารผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกบนฐานอัตลักษณ์ ของ อำเภอขนอม สิชล และท่าศาลา ต่อไป

จำนวนคนดู: 43