ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่รายรอบมหาวิทยาลัย กับกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดูตำบลตลิ่งชันภายใต้โครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี

          ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา เป็นหัวหน้าศูนย์ผลิตและบริการฯ และเป็นหัวหน้าโครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี  มอบหมายให้ นายชานนท์ ช่วยชู นักวิชาการ จากสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยนางสาวพุทธพร ชุมแก้ว ธราพรสกุลวงศ์ และ นางสาวณัฐนิช เสือเดช ลงพื้นที่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดู ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา กับเกษตกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดู ณ บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 3 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้การดำเนินกิจกรรมของโครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ซึ่งเป็นโครงการพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ (Socai Engagement)

          การดำเนินโครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี ได้รับความร่วมมือกับสำนักงานเกษตรอำเภอท่าศาลา โดยมีนายวินัย ชนะภัย เกษตรอำเภอท่าศาลาและนายณัฐวัตร นวลรอด นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับนายประกิต ธีระบัญชร รองประธานกลุ่มฯ ร่วมกำหนดเป้าหมายที่สำคัญเพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยใช้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ซึ่ง ศพก. จะเป็นสถานที่เรียนรู้ นำไปสู่การผลิตร่วมกันแบบแปลงใหญ่ โดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วย  บูรณาการร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ค้นพบเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ใหม่ (NST-009) ที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนและส้ม โรคแอนแทรคโนสพริก โรคราแป้งเงาะ โรครากขาวยางพารา โรครากเน่าโคนเน่าปาล์มน้ำมัน เป็นต้น เป็นสายพันธุ์ที่เจริญเติบโตและสร้างสปอร์ได้เร็วกว่าสายพันธุ์การค้า สามารถเจริญเติบโตบนใบและรากพืชได้ดีกว่า สามารถปรับตัวและเพิ่มปริมาณในดินที่มีการปนเปื้อนของสารเคมีได้ดีพร้อมผ่านการทดสอบและยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืชที่ปลูกและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ยังมีเชื้อราบิวเวอร์เรียและเชื้อราเมธาไรเซียม ที่สามารถควบคุม แมลงศัตรูพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยแป้ง ไรแดง ไรขาว หนอนเจาะผลและลำต้นพืช หนอนกระทู้ผัก หนอนผีเสื้อ แมลงวันผลไม้ แมลงวันหนอนชอนใบ แมลงดำหนามมะพร้าว ด้วงแรด ด้วงหมัดผัก ด้วงเต่าแตง เป็นต้น

          ภารกิจด้านวิชาการรับใช้สังคมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.30 น. ตัวแทนเกษตรกรแต่ละตำบลในพื้นที่ตำบลตลิ่งชันอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้การสำรวจความต้องการพื้นที่รายรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งเกษตรกรมีการบริหารจัดการ เอาใจใส่คุณภาพของผลผลิต เพื่อให้ผู้บริโภคได้สินค้าที่มีคุณภาพ สมาชิกภายในกลุ่มส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจำของศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บรรยากาศการลงพื้นที่จึงมาเยี่ยมให้กำลังใจและติดตามความก้าวหน้าของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จึงเป็นการตลอดทั้งการเตือนการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชในช่วงฤดูฝน ตลอดทั้งรวบรวมตัวอย่างดินของเกษตรกรที่รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ผ่านการใช้สารชีวภัณฑ์ดังกล่าว มาค่าวิเคราะห์จุลินทรีย์ในดิน และการนัดหมายวันเวลาเพื่อการรายงานผลวิเคราะห์จุลินทรีย์ในดินของเกษตรกรรายบุคคล ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอท่าศาลา

          เร็วๆนี้ กลุ่มทุเรียนนอกฤดูตลิ่งชัน มีงานบุฟเฟ่ต์ทุเรียนหมอนทอง จัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ณ กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตทุเรียนนอกฤดู ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช  การันตีเนื้อทุเรียนจากสวนท่าศาลา ซึ่งนับว่าเป็นทุเรียนที่มีความอร่อย  มาให้ลูกค้าได้ชิมอิ่มอร่อยได้ไม่อั้นในราคาสุดพิเศษ 99 บาทต่อท่าน จัดเป็นโต๊ะๆละ 8 ท่าน ขณะนี้เป็นช่วงที่ทุเรียนมีราคาสูงมาก จากเริ่มแรกกิโลกรัมละ100 บาท ขณะนี้ขึ้นสูงถึง 140 บาทแล้ว  ทำให้ผู้บริโภคจึงเลือกที่จะเลือกซื้อทุเรียนในลักษณะบุฟเฟ่ต์มากขึ้น  โดยเฉลี่ยแล้วจะคุ้มค่ากว่า การซื้อทานเป็นลูกๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณณัฐวัตร นวลรอด สำนักงานเกตรอำเภอท่าศาลา โทร.099-484-4419

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจขอรับบริการวิชาการ ได้ที่ ศูนย์​ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร​ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร อาคารวิชาการ 4 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  โทรศัพท์ 092-3293569 หรือ Line ID : tcruwu

 

 

จำนวนคนดู: 45