ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คณาจารย์ นักวิชาการ สำนักวิชาต่างๆ ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการดำเนินกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาแก่ชุมชนบ้านวังอ่างภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          คณาจารย์ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับศูนย์บริการวิชาการดำเนินกิจกรรมบริการให้คำปรึกษาแก่ชุมชนบ้านวังอ่างภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2562 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา อาจารย์ ดร.อรรถกร พรมวี สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ อาจารย์สำนักวิชาการจัดการ อาจารย์วาลุกา เอมเอก สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ นักวิชาการศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร และคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ร่วมหารือวางแผนการดำเนินกิจกรรมและลงพื้นที่สำรวจชุมชนเป้าหมายในโครงการการยกระดับพืชผักพื้นถิ่นปลอดภัยเพื่อส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งรับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          กิจกรรมสำรวจพื้นที่ชุมชนเพื่อสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวชุมชน ค้นหาอัตลักษณ์ชุมชน การเก็บตัวอย่างดินปลูกพืชผักพื้นถิ่น พร้อมทั้งการบริการให้คำปรึกษาแก่สมาชิกกลุ่มเป้าหมายทั้งสมาชิกชุมชนบ้านวังอ่างหมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 9 และสมาชิกโรงเรียนพื้นที่ตำบลวังอ่าง ได้แก่ โรงเรียน ตชด.บ้านควนมีชัย โรงเรียน ตชด.บ้านหลังอ้ายหมี โรงเรียนบ้านหนองนนทรี และโรงเรียนบ้านควนมิตร ตามแนวคิด Happy Tree Model ชุมชนอยู่ดีมีสุขแบบองค์รวมเป็นกรอบหลักเพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ในมิติต่าง ๆ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ การศึกษา อาชีพ สุขภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรม เน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือบูรณาการในระดับชุมชน
          ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ขอขอบคุณ คณาจารย์และนักวิชาการทุกสำนักวิชา ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ที่ร่วมดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง

จำนวนคนดู: 44