ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และบริการให้คำปรึกษา ด้านมาตรฐานฟาร์มจีเอพี (GAP) เพื่อยกระดับคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม แก่กลุ่มเกษตรกร บ้านหัวปอ ตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

          เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 ณ บ้านหัวหรง ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายธีรพงศ์ ไกรนรา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับนางสาวพุทธพร ชุมแก้ว ธราพรสกุลวงศ์ จากฝ่ายบริหารโครงการและกิจกรรมพิเศษ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์และบริการให้คำปรึกษา กิจกรรมที่ 4 ด้านมาตรฐานฟาร์มจีเอพี (GAP) เพื่อยกระดับคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม แก่กลุ่มเกษตรกร บ้านหัวปอ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายเสถียร คำแก้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ให้การต้อนรับ

          พื้นที่ตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ เป็นที่ลุ่ม ลักษณะเหมือนอ่างกระทะ ตั้งอยู่รอยต่ออำเภอปากพนัง ซึ่งช่วงหน้าน้ำ จะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี ช่วงน้ำท่วมจะสัญจรไปมาด้วยเรือ โดยประชากรบ้านหัวปอ ตำบลบ้านเนิน มีจำนวนประมาณ 300 – 400 คน และทั้งตำบล มี 10 หมู่บ้าน ประมาณ 700 ครัวเรือน หรือประมาณเกือบ 3,000 คน ปัจจุบันแม้ถนนหนทางและเส้นทางคมนาคมจะเดินทางได้สะดวกขึ้น แต่พื้นที่บ้านเนิน ก็จะห่างไกลการเข้าถึงพื้นที่ อาชีพหลักในพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำจืด และทางการเกษตร

          จากการลงพื้นที่และได้พูดคุยกับนายเสถียร คำแก้ว ทางโครงการได้สัมผัสวิถีในการประกอบอาชีพด้านการเลี้ยงปลานิล ด้วยสภาพพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ ทำให้แหล่งน้ำ และสภาพอากาศ เหมาะแก่การเลี้ยงปลานิลเป็นอย่างมาก บ่อยครั้งที่เกษตกรในพื้นที่เมื่อช่วงจับปลานิลขายได้ จะแบ่งส่วนหนึ่งนำไปส่งมอบให้โรงเรียนบ้านหัวปอ เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นอาหารกลางวันแก่เด็กนักเรียนให้ได้รับประทานแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณภาพ และปลอดภัย

          การประชาสัมพันธ์และบริการให้คำปรึกษาฯ ในกิจกรรมที่ 4 ด้านมาตรฐานฟาร์มจีเอพี (GAP) เพื่อยกระดับคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม ภายใต้โครงการ“กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าประมงโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม”กำหนดจัดกิจกรรมฯ ณ ห้องดอกบัว โรงแรมทวินโลตัส ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สมาชิกในชุมชนบ้านหัวหรงได้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี  ซึ่งให้ความสำคัญของอาชีพการเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่สามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งช่วงระหว่างวันที่ 8 – 16 พฤศจิกายน 2562 ได้บริการให้คำปรึกษาด้านการทำตลาดออฟไลน์และตลาดออนไลน์ มีองค์ความรู้เพิ่ม ตระหนักและรับรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายสำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพอย่างสมดุล สู่การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพประมงอย่างยั่งยืน

จำนวนคนดู: 76