ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์ เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการดำเนินงานหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ในพื้นที่ภาคใต้
          เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม  2563 ที่ผ่านมา ศ.ดร. วรรณา ชูฤทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม ผศ.ดร. อมรศักดิ์ สวัสดีผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และผศ.ดร. อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ เรื่องแนวทางการดำเนินงานหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ในพื้นที่ภาคใต้ โดย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบาย ในการประชุม โดยมี ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ อว. นายสำราญ รอดเพชร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการ อว. ศ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงฯ ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากูล รองปลัดกระทรวงฯ รองศาสตราจารย์พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดโนโลยี นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล พร้อมด้วยผู้บริหารสถาบันการศึกษาและหัวหน้าหน่วย อว.ส่วนหน้า เข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางการดำเนินการฯ ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี 
          ด้วยรัฐบาลมีนโยบาย “ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ในระดับพื้นที่จังหวัดเพื่อให้การพัฒนาและแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัดสามารถขับเคลื่อนไปได้โดยเร็วอย่างเป็นรูปธรรมสามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการบูรณาการ การทำงานของทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าและแต่งตั้งหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ  ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน. และหัวหน้าหน่วย อว.ส่วนหน้า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ ผศ.ดร. อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ทั้งนี้ ผศ.ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รายงานความก้าวหน้าและแนวทางการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เริ่มดำเนินการเปิดรับสมัครบุคคลทำงาน  ตั้งแต่วันที่ 11 – 24 ธันวาคม 2563 ผ่านระบบออนไลน์ และวางแผนการประชุมระดับอำเภอ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างตำบล แลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการ และเทคโนโลยีต่างๆ ของชุมชน อาธิเช่น ผลิตภัณฑ์ชุมชน  และการท่องเที่ยวเป็นหลัก ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีการทำการเกษตร  โดยทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พยายามนำ เทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยเข้าไปช่วย โดยการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา  เชื้อราป้องกันกำจัดโรคพืช ,มีแพลตฟอร์ม ผลิตภัณฑ์ ทั้ง 36 ตำบล ในระยะที่ 1  และมีการวิเคราะห์สิ่งที่เกิดและสิ่งที่เปลี่ยนแปลงต่อไป
จำนวนคนดู: 25