ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
          คณาจารย์สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ชูชาติ พันธ์สวัสดิ์ รักษาการแทนรองคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และหัวหน้าโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดยางงาม ลงพื้นที่รายรอบมหาวิทยาลัยให้บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพ อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ณ พื้นที่โรงเรียนวัดยางงาม ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายจรัญ เพชรเพ็ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดยางงาม ได้แสดงความจำนงขอรับบริการด้านสุขภาพให้กับนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จำนวน  103 คน ในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา  2563 
          การดำเนินโครงการในภาคเรียนที่ผ่านมา ในมีนาคม 2564 มีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการตรวจอุจจาระเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อหนอนพยาธิของนักเรียน จำนวนนักเรียน 81 คน และการสำรวจและประเมินแบบสอบถามด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดิน การตรวจเล็บและการตรวจอุจจาระเพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อหนอนพยาธิของนักเรียน จำนวนนักเรียน 80 คน และดำเนินการตรวจที่ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ผลไม่พบนักเรียนที่ติดเชื้อหนอนพยาธิ
        นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 ทางโครงการฯ ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคหนอนพยาธิให้เด็กนักเรียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงปัญหาของโรคหนอนพยาธิที่ติดต่อผ่านดิน รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปดูแลสุขภาพและที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง และครู ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในดำเนินการตรวจวินิจฉัย รักษา และป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน รวมทั้งคณาจารย์ และบัณทิตศึกษา สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ให้ความรู้ ความเข้าใจ ด้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อหนอนพยาธิ  เช่น การไม่ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร, การไม่ล้างมือหลังการขับถ่ายอุจจาระ,การไม่ล้างมือหลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง, การไม่ล้างมือหลังจากวิ่งเล่น, การไม่ล้างผักให้สะอาดก่อนนำมารับประทาน หรือนำมาปรุงอาหาร รวมถึงการรับประทานอาหารแบบสุกๆดิบๆ, การถ่ายอุจจาระในส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ, การไม่สวมรองเท้าเมื่อออกนอกบ้าน, การเล่นในสนามหญ้า หรือบนดิน และพฤติกรรมชอบกัดเล็บมือ ครอบคลุมที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้มาใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคของนักเรียนให้สำเร็จ และนำไปสู่การพัฒนาเป็นพื้นที่ต้นแบบในการควบคุมการแพร่กระจายของโรคหนอนพยาธิในระดับชุมชนได้อย่างมีความยั่งยืน
บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
บริการวิชาการรับใช้สังคม มิติด้านสุขภาพกับโครงการควบคุมและป้องกันโรคหนอนพยาธิในเด็กนักเรียน โรงเรียนวัดยางงาม อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
จำนวนคนดู: 53