ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกร แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
          เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 เวลา 13.30 – 15.30 น. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย อาจารย์ สพ.ญ รัชฎาพร บริพันธ์ วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี พร้อมคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ร่วมจัดกิจกรรมอบรมการยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกร แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกรแบบครบวงจรฯ ณ ศาลาประชาคม ซอย 2 ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
          ด้วย ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ความร่วมมือของคณาจารย์จากสำนักวิชาต่าง ๆ และเครือข่ายภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการยกระดับพัฒนาชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ด้านอาชีพ ด้วยการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ผลักดันจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสุกรแบบครบวงจร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ตั้งแต่ ปี 2563 โดยที่ผ่านมา มีการดำเนินการส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มมูลค่าสุกรของชุมชนแบบองค์รวม ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ อาทิ พัฒนาสูตรอาหารสุกรแม่พันธุ์ ส่งเสริมการผลิตจัดการสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน พัฒนาต้นแบบการผลิตก๊าซชีวภาพในระดับครัวเรือน พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อสุกร ส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่ม ตลอดจนการดูแลสุขภาพเกษตรกรฟาร์มสุกร เป็นต้น ผลลัพธ์ภายหลังจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา ส่งผลให้เกษตรกรเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต และต่อยอดอาชีพสร้างรายได้เสริม สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหลัก (SDGs) เป้าหมายข้อที่ 1 “No Poverty” ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ เป้าหมายข้อที่ 2 “Zero Hunger” ขจัดความหิวโหย ส่งเสริมเข้าถึงความรู้ ทักษะเทคโนโลยีเกษตรแบบยั่งยืนแก่เกษตรกรในท้องถิ่นและผู้ผลิตอาหาร และเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ได้มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บูรณาการระหว่างศาสตร์และสร้างความร่วมมือทั้งหน่วยงานภายในและนอกของมหาวิทยาลัย
        เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในสุกรในพื้นที่อื่น ทางกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสุกรฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังและป้องกันโรค จึงได้แสดงความจำนงขอรับบริการวิชาการ กับศูนย์บริการวิชาการ ซึ่งได้ประสานความร่วมมือกับภาควิชาการและเครือข่ายมหาวิทยาลัย ในการนี้ อาจารย์ สัตวแพทย์หญิง รัชฎาพร บริพันธ์ วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ได้แจ้งผลจากการเก็บตัวอย่างมูลสุกรและน้ำบ่อพักจากบ่อ เพื่อป้องกันเชื้อก่อโรคในสุกร เช่น โรคในระบบทางเดินอาหารที่ทำให้สุกรท้องเสีย พร้อมทั้ง อบรมและบริการให้คำปรึกษา เรื่อง “ความพร้อม เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคระบาดในสุกร” แก่สมาชิกกลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 20 คน นอกจากนี้ นายสนอง ทองยอด ประธานกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสุกรฯ ให้คำปรึกษาเรื่อง “การผสมเทียมด้วยตนเอง” เพื่อลดความเสี่ยงโรคระบาดสู่ฟาร์ม จากนั้น คณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ได้หารือและชี้แจงแนวทางการพัฒนายกระดับกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสุกรฯ ในปี 2565 ด้วยโครงการพันธกิจวิชาการรับใช้สังคม: พัฒนาระบบการผลิตและการจัดการสุกรแม่พันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เพื่ออาชีพที่มั่นคง พร้อมสนับสนุนเวชภัณฑ์เพื่อป้องกันโรคในสุกร แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจฯ ได้แก่ น้ำยาฆ่าเชื้อ ยาถ่ายให้พยาธิ ภายใต้งบประมาณโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ทั้งนี้ คณะทำงาน จะลงพื้นที่เพื่อดำเนินการและติดตามผลการดำเนินโครงการในลำดับถัดไป
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ยกระดับขีดความสามารถการป้องกันโรคสำคัญในสุกรแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
จำนวนคนดู: 33