ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ผลักดัน “น้ำมันนวดไพล” และ “สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ผลักดัน “น้ำมันนวดไพล” และ “สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ผลักดัน “น้ำมันนวดไพล” และ “สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
          เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย อาจารย์ ดร.ฉวีวรรณ  คล่องศิริเวช พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านทุ่งชน ประชุมเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร (น้ำมันนวดไพล และสเปรย์ไล่ยุง) ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านทุ่งชน ตำบลหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช         
          “โครงการยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบบครบวงจรเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและสัมมาชีพชุมชน” เป็นโครงการต่อเนื่อง ปีที่ 3 ภายใต้ ชุดโครงการพันธกิจวิชาการรับใช้สังคมยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แบบองค์รวม (WU – Social engagement) ปีงบประมาณ 2565 มุ่งเน้นชุมชนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรแบบครบวงจร ยกระดับมาตรฐานรับรองและคุณภาพผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายข้อ 3 การพัฒนาด้านสุขภาพในพื้นที่ให้มีหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย (Good health and Well-being) เป้าหมายข้อ 1 ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ (No Poverty) และเป้าหมายข้อ 17 การทำงานแบบเชิงบูรณาการภาคีหุ้นส่วนความร่วมมือ (Partnerships for the Goals)
          ในการนี้ อาจารย์ ดร.ฉวีวรรณ  คล่องศิริเวช ในฐานะหัวหน้าโครงการ ร่วมกับ บุคลากร รพ.สต.บ้านทุ่งชน  ได้เปิดเวทีระดมความคิดเห็น เรื่องแนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีมาตรฐานรองรับ ตลอดจนให้คำปรึกษาด้านการใช้สมุนไพร โดยที่ประชุมมีความสนใจและต้องการที่จะพัฒนา “ผลิตภัณฑ์น้ำมันไพล และสเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” แบบครบวงจร ยกระดับมาตรฐานรับรองและคุณภาพผลิตภัณฑ์ การพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์วัตถุดิบสมุนไพร บรรจุภัณฑ์ และตราสัญลักษณ์ที่เหมาะสม และลดต้นทุน ออกแบบช่องทางการตลาดเข้าถึงง่าย และดึงดูดลูกค้า สร้างระบบการบริหารจัดการกลุ่ม และการบริหารการเงินกลุ่ม และการใช้สมุนไพรในระบบบริการสุขภาพ การใช้บริการการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการภาครัฐ ทั้งนี้ คณะทำงานโครงการฯ จะนำข้อมูลดังกล่าว เตรียมยื่นขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร ต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการในขั้นต่อไป
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ผลักดัน “น้ำมันนวดไพล” และ “สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ผลักดัน “น้ำมันนวดไพล” และ “สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ผลักดัน “น้ำมันนวดไพล” และ “สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ผลักดัน “น้ำมันนวดไพล” และ “สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง” สู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์สมุนไพร
จำนวนคนดู: 37