ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์จัดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ
ม.วลัยลักษณ์จัดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ
ม.วลัยลักษณ์จัดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ

          เมื่อวันที่ 24 และ 31 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพัฒน์ นาวารัตน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอาจารย์ประจำสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ร่วมกับ คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี คณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง และตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี บริการให้คำปรึกษา กิจกรรมการยกระดับการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ครั้งที่ 3 (การเตรียมความพร้อมก่อนประเมินสมรรถภาพทางกาย (ค่าความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ) การทบทวนความรู้ก่อนกิจกรรมและการประเมินความรู้หลังกิจกรรม รวมทั้งการทดลองติดตามผลกิจกรรมผ่านรูปแบบออนไลน์) (SDG3) ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Activity Based Learning แก่ผู้แทนเกษตรกรชาวสวน ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

          อนึ่ง กิจกรรมดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมดำเนินการตามแนวทางการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจำนวนการตายและการป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ขอขอบคุณ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการอนุเคราะห์อุปกรณ์ประกอบการจัดกิจกรรม รวมทั้ง คณาจารย์ ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ที่ร่วมดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง

ม.วลัยลักษณ์จัดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบ
จำนวนคนดู: 41