ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

U2T for BCG มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และคณะทำงานได้ลงปฏิบัติงานนอกพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลประจำตำบล หรือ Thailand Community Data (TCD) ต่อเนื่องเพิ่มเติม เพื่อจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน ตามนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T FOR BCG) โดยลงจัดเก็บข้อมูล ในวันที่ 13 – 20 มีนาคม 2566 ณ ตำบลแม่น้ำ ตำบลอ่างทอง ตำบลบ่อผุด ตำบลลิปะน้อย และตำบลตลิ่งงาม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

          จัดเก็บข้อมูล TCD จำนวน 10 หมวดหมู่ ได้แก่  (1) เกษตรกรในท้องถิ่น (2) แหล่งน้ำในท่องถิ่น (3) ผู้ที่ย้ายกลับบ้าน เนื่องจากสถานการณ์โควิด (4) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (5) สัตว์ในท้องถิ่น (6) พืชในท้องถิ่น (7) แหล่งท่องเที่ยว (8) ร้านอาหารในท้องถิ่น (9) อาหารที่น่าสนใจประจำถิ่น และ (10) ที่พัก/โรงแรม  ในครั้งนี้   คณะทำงานขอขอบคุณประชาชนในพื้นที่ที่สนับสนุนให้ความร่วมมือในการนำเก็บข้อมูล TCD ที่จัดเก็บ ซึ่งจะได้จะนำมาประมวลผล ถ่ายทอด และเป็นประโยชน์ให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน เพื่อนำไปใช้พัฒนา สร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชน

          และในครั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ส่งเสริมผลักดันสินค้า U2T และบริการออกสู่ตลาด ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)  พื้นที่อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ หาด แหลมสอ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ภายในงานหนังฉายชายเล ครั้งที่ 2 ภายใต้โครงการท่องเที่ยวเล แลเสน่ห์อ่าวไทย  เพื่อส่งเสริมการตลาดเพื่อประชาสัมพันธ์และแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้า U2T for BCG ให้กลุ่มเป้าหมายทราบอย่างทั่วถึง ซึ่งได้รับความสนใจจากนักเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจร่วมจำนวนมาก ทั้งนี้เป้าหมายและแนวทางของการทำงานวิจัยและบริการวิชาการของ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ จะทำให้เกิดความต่อเนื่อง มั่นคง ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยยกระดับชีวิตของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้และมีความยั่งยืน”  สำหรับการปฏิบัติงานครั้งนี้ สอดคล้องกับนโยบาย SDG 1 การขจัดความยากจน และ SDG 2 การขจัดความหิวโหยเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเป็นการสำรวจความต้องการของตลาดเพื่อในการสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนฐานรากในอนาคต

จำนวนคนดู: 28