มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพัฒนาศักยภาพฯ ทสจ.ตรัง เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด จังหวัดตรัง ครั้งที่ 3/2566

          วันที่ 28 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยสำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะที่ปรึกษา “โครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด” นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศวรรยา เลาหประภานนท์ อาจารย์นิธิมา หนูหลง และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล ถิ่นสุราษฎร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมประชุมคณะทำงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอากาศระดับจังหวัด จังหวัดตรัง ครั้งที่ 3/2566 ณ ห้องพระยารัษฎา ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดตรัง โดยนำเสนอผลสรุปปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปีฐาน 2562 ผลสรุปการคาดการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต (พ.ศ. 2573) ผลสรุปมาตรการและศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจก และรายงานสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัดโดยนำเสนอผลการประเมินความเสี่ยงของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภายในขอบเขตการปกครองของจังหวัด จาก 6 สาขา ได้แก่ การจัดการน้ำ การเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร การท่องเที่ยว สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์

          โดยโครงการการพัฒนาศักยภาพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก และแผนการลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด และเพื่อจัดทำรายงานสภาพการณ์ความเสี่ยง (Risk Profile) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจังหวัดตามแนวทางของแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และจัดทำแผนปฏิบัติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ และยังเป็นไปตามเจตนารมณ์ที่นายกรัฐมนตรีได้ประกาศไว้ในที่ประชุมระดับผู้นำสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) ซึ่งจัดขึ้น ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก๊อตแลนด์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)  ภายในปีพ.ศ. 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซ      เรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 และเพื่อตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand’s Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development strategy)  ที่กำหนดเป้าหมาย NDC เป็นร้อยละ 40 ภายในปี พ.ศ. 2573

 

จำนวนคนดู: 9