ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ วางแผนจัดกิจกรรมสร้างบ้านปลา เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ วางแผนจัดกิจกรรมสร้างบ้านปลา เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ วางแผนจัดกิจกรรมสร้างบ้านปลา เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนนำความเป็นเลิศสู่สากล เพื่อจัดอันดับ THE Impact Ranking ภายใต้ โครงการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และยกระดับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทะเลเพื่อการใช้ทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง ปีที่ 1 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ประชุมวางแผนรูปแบบ และการดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างบ้านปลาเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง ร่วมกับคณะทำงาน  ณ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง อำเภอท่าศาลา     ซึ่งกิจกรรมทำบ้านปลาทางสมาคมฯ ได้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมา โดยปี 2567 นี้ กำหนดจัดกิจกรรมในวันที่ 26-28 เมษายน 2567 สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ได้ที่ลิ้งค์ https://docs.google.com/forms/d/1lp20XUcdhGsj2feQ6nMJI9y9U1zPqtLuEYcmnjds_l8/edit

โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อให้สัตว์น้ำวัยอ่อนได้มีพื้นที่หลบภัย ( ภัยจากเครื่องมือจับสัตว์น้ำ)
  2. เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งอาหาร
  3. เพื่อสานต่อในการสร้างองค์ความรู้จากภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่นไปยังลูกหลาน
  4. เพื่อสร้างสามัคคี สร้างการร่วมแรงร่วมใจ และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์แหล่งอาหารและสิ่งแวดล้อม

          รูปแบบกิจกรรมในการทำบ้านปลา จะใช้ไม้ไผ่ความยาวประมาณ 6 เมตรปักลงในท้องทะเล ปักล้อมเป็นวงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงประมาณ 3-4 เมตรและใช้ทางมะพร้าวสดผูกคาดกับไม้ไผ่ให้สูงจากพื้นทะเลประมาณ 2 เมตรเพื่อเป็นร่มเงาให้สัตว์น้ำได้อยู่อาศัย โดยจะจัดทำแบบเดียวกันจำนวน 4 ชุดในบริเวณไกล้เคียงกัน 
          กิจกรรมในครั้งนี้ นอกจากเป็นการขับเคลื่อนของกลุ่ม องค์กรพี่น้องชุมชนชายฝั่งในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทำให้มีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ความต่อเนื่องทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเพิ่มขึ้น นักท่องเที่ยวรู้จักและเดินทางมาท่องเที่ยวอำเภอท่าศาลาเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนชาวท่าศาลาในภาพรวมได้รับความร่วมมือในการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่ม องค์กร บริษัทห้างร้าน อาจารย์ นักศึกษา ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริม การอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนต่อไป
          ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ข้อที่ 2 Zero Hunger (ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน)  และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)

 

ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ วางแผนจัดกิจกรรมสร้างบ้านปลา เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
จำนวนคนดู: 25