มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ข้าวหอมหัวบอน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ข้าวหอมหัวบอน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ข้าวหอมหัวบอน

          มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย รศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม สำนักวิชาการจัดการและคณะทำงานจากศูนย์บริการวิชาการ ได้ดำเนินการลงพื้นที่ศึกษาและรวบรวมข้อมูล เพื่อศึกษา สอบถาม และรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสินค้าข้าวหอมหัวบอน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้า โดยได้เชิญ คณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” มาประชุมร่วมกัน วันจันทร์ที่ 5  กุมภาพันธ์  2567  เวลา 13.30  น. ณ ห้องประชุมสำนักงานพาณิชย์จังหวัดกระบี่ ชั้น 3  โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุวรรตน์  โหมดพริ้ง  รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานในที่ประชุม
          และในวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ทางคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” ร่วมประชุม และเข้าเยี่ยมชมเกษตรกรในพื้นที่ อ.เขาพนม จ.กระบี่  โดยช่วงเช้ามีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการปลูกข้าว ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ และเดินทางต่อไปยัง พื้นที่ปลูกข้าว ณ อ.เขาพนม จ.กระบี่   โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวกนกอร เยาว์ดำ  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวกระบี่ เป็นประธานในที่ประชุม และนำคณะทำงานฯ ลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลการปลูกข้าวหอมบอนเมืองกระบี่
          ดังนั้น การดำเนินการในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นในการจัดเตรียมคำขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยที่มีศักยภาพ ให้ได้รับความคุ้มครองในประเทศของสินค้าข้าวหอมหัวบอนเมืองกระบี่ โดยในการดำเนินการจะดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล เพื่อทำความเข้าใจร่วมกับชุมชนเรื่องประโยชน์ของการขึ้นทะเบียน GI รวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และส่งเสริมให้ชุมชนร่วมจัดทำคำขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เพื่อขึ้นทะเบียนในประเทศ ตลอดจนจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และจัดให้มีการตรวจสอบรับรองผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้าที่ประสงค์ขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย หลายหน่วยงานโดยดำเนินการรวมกลุ่มศึกษาและรวบรวมข้อมูลสินค้า เช่น ข้อมูลสินค้าเบื้องต้น กระบวนการผลิต ปริมาณการผลิต จำนวนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการค้า พื้นที่การผลิต เป็นต้น ร่วมกับหน่วยงานหรือผู้เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด ผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้า เป็นต้น เพื่อดำเนินการยื่นคำขอสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้กับกลุ่มเป้าหมายในโครงการ
        ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่ (End poverty in all its forms everywhere)  SDG ข้อ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน (End hunger, achieve food security and improved nutrition and promote sustainable agriculture) และข้อที่ 17 สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย(Partnerships for the Goals)

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ข้าวหอมหัวบอน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ข้าวหอมหัวบอน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมคณะทำงานจัดทำคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ สินค้า “ข้าวไร่หอมหัวบอนเมืองกระบี่” เพื่อเตรียมการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ข้าวหอมหัวบอน
จำนวนคนดู: 32