มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่

          เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร บุญยัง อาจารย์สังกัดสำนักวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการ ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรม ครั้งที่ 4 ในชื่อกิจกรรมลอยเรือ ซึ่งได้มีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน และบริการวิชาการ: ภายใต้โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้แบบ STEM Education แก่นักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่ โดยเพิ่มกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  จำนวน 15 คน อย่างต่อเนื่อง โดยมีรูปแบบการจัดกิจกรรม STEM แบบง่ายๆ สนุกและท้าทาย เรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ได้แก่ 1. ขั้นระบุปัญหา 2. ขั้นรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา 3. ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา 4. ขั้นวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน 5. ขั้นทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน และ 6. ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา ผลการแก้ปัญหาหรือชิ้นงาน โดยมีการแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน เรียนรู้ผ่านกิจกรรมในฐานที่ 1 กิจกรรมลอยหรือจม  ฐานที่ 2 กิจกรรมสร้างเรือให้ลอย  ฐานที่ 3 กิจกรรมเรือแบบไหนรับน้ำหนักได้ดีกว่า  และฐานที่ 4 กิจกรรมสร้างเรือรับน้ำหนักให้ดีขึ้น ซึ่งวิธีดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ฝึกให้นักเรียนสังเกต วัสดุตัวอย่าง และตอบคำถามลอยหรือจม  พร้อมพิจารณาคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด ตั้งคำถามให้นักเรียนเลือกใช้วัสดุเหล่านั้นสำหรับนำไปสร้างเรือ และบอกเหตุผลของการเลือกใช้วัสดุดังกล่าว หลังจากนั้นให้นักเรียนสร้างเรือบรรทุกน้ำตามที่ได้ออกแบบไว้ และนำเรือไปทดสอบลอยในภาชนะบรรจุน้ำเพื่อทดสอบการลอยหรือจมของเรือที่สร้างขึ้น พร้อมบอกเหตุผล และแนวทางการปรับปรุงให้เรือสามารถลอยได้ดีขึ้น และให้ตัวแทนกลุ่มนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน และอธิบายในประเด็นเรือของนักเรียนมีลักษณะอย่างไร นักเรียนปรับแก้เรือให้ดีขึ้นอย่างไร และเรือที่บรทุกน้ำหนักได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด ควรมีลักษณะ หรือรูปแบบอย่างไร ทั้งนี้นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสร่วมอภิปรายหาเหตุผลการปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น และสรุปกิจกรรมทดสอบความรู้ความเข้าใจ โดยผลประเมินความพึงพอใจจากผู้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้  พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็น 100%

          ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 4 (Quality education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา STEM Education โรงเรียนชุมชนใหม่
จำนวนคนดู: 50