ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นภาคีเครือข่ายร่วมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 "การศึกษาในยุค AI: โอกาสหรือวิกฤต? The Challenges of Education in the AI Era: Opportunity or Crisis?"

          เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย นางสาวกนตวรรณ อึ้งสกุล หัวหน้าฝ่ายวิชาการรับใช้สังคมและพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นผู้แทนรับมอบโล่และร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการของศูนย์ฯ จัดแสดงในธีมต้นไม้แห่งความสุข (HAPPY TREE) เป็นหลักในถิ่น ในมิติการศึกษา มิติอาชีพ  มิติสุขภาพ มิติสังคมและวัฒนธรรม และมิติทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ผลิตภัณฑ์ 1) ชาสมุนไพรต้านภัย NCDs (ใบเตย  ดอกดาหลา  ข่าเหลือง ตะไคร้) 2) น้ำมันนวดสมุนไพร และ 3) ยาหม่องเขาวัง (แปรรูปจากกระวาน) เพื่อเป็นเวทีสำหรับการนำเสนอผลงานทางวิชาการที่เปิดโอกาสให้กับนักวิจัย นักวิชาการ นิสิต/นักศึกษา และผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนจากทั่วประเทศ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานวิจัย นวัตกรรม ร่วมเปิดมุมมองสู่อนาคตแห่งการศึกษาในยุค AI กับการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 15 ประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้หัวข้อที่ท้าทาย “การศึกษาในยุค AI: โอกาสหรือวิกฤต? The Challenges of Education in the AI Era: Opportunity or Crisis?” พบกับผู้เชี่ยวชาญจากแวดวงการศึกษาและเทคโนโลยีที่จะมาร่วมถกประเด็นสำคัญเกี่ยวกับบทบาทของ AI ในการเปลี่ยนแปลงการศึกษา พร้อมทั้งโอกาสที่มาพร้อมกับวิกฤต เพื่อค้นหาทางเลือกและกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่การปรับตัวในยุคดิจิทัล

          โดยในครั้งนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิตย์ศรี แสงเดือน อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ได้กล่าวเปิดการประชุมฯ และมอบโล่ขอบคุณภาคีร่วมจัดการประชุม ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช  

 

Credit ภาพถ่ายจากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ SCT

จำนวนคนดู: 25