เปิดอบรมอย่างเป็นทางการ “โครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 32” The 32nd Marine Ecology Summer Course

          เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2568 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ จัดกิจกรรมพิธีเปิดโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 32 “The 32nd Marine Ecology Summe Course”
          ภายในกิจกรรมพิธีเปิด ได้รับเกียรติกล่าวเปิดงานโดย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  พร้อมด้วยผู้บริหารจากภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดการอบรมในครั้งนี้ คือ
     รองศาสตราจารย์ ดร.วาริท เจาะจิตต์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวต้อนรับ
     คุณพรสุรีย์  กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวต้อนรับในนามผู้สนับสนุน
     คุณสุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
     คุณวราริน วงษ์พานิช ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
     คุณทิพามาศ อุปน้อย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน 
     คุณจิราภรณ์ โชติช่วง      เจ้าหน้าที่อาวุโส ฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัทเชฟรอนประเทศ ไทยสำรวจและผลิตจำกัด
     คุณนรเดช สายะเวชบำรุง ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายการบิน บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด
     รองศาสตรจารย์ ดร.ลักษณ์นารา ขวัญชุม รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
          ภายในกิจกรรมพิธีเปิด ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะหน้าโครงการ กล่าวรายงานถึงเครือข่ายความร่วมมือ วัตถุประสงค์ของโครงการ ตลอดจนรายละเอียดของกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรม คือ
     1.การบรรยาย การทำหัวข้อสัมมนา รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting จัดขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2568
     การบรรยาย: โดยมีผู้บรรยายจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เชี่ยวชาญจากทั่วประเทศ รวมทั้งนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 23 หัวข้อ
     การทำหัวข้อสัมมนา: ผู้เข้าอบรมแบ่งกลุ่มเพื่อเลือกหัวข้อสัมมนา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่ม เป็นพี่เลี้ยงและให้การปรึกษาแนะนำ โดยฝึกให้คิดการตั้งโจทย์ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล และมีการนำเสนอตามหัวข้อสัมมนา
     2.กิจกรรมภาคปฏิบัติ ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จ.ภูเก็ต ระหว่างวันที่  20 – 28 เมษายน 2568 คัดเลือกนักศึกษาจากกิจกรรมบบรรยาย และการทำหัวข้อสัมมนา จำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรม
     กิจกรรมภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยการศึกษาในห้องปฏิบัติการ การทดลองโดยแบ่งกลุ่มทำงานร่วมกัน กิจกรรมภาคสนาม โดยเน้นให้มีการศึกษาของจริงในทะเล ได้แก่ การศึกษาหาดชนิดต่างๆ ป่าชายเลน ดำน้ำดูแนวปะการัง กิจกรมการออกเรือและให้มีการปฏิบัติการศึกษาทางสมุทรศาสตร์ โดยได้มีโอกาสใช้เครื่องมือทันสมัยต่างๆ
          การจัดโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ในครั้งนี้ มีนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 118 คน ประกอบด้วย ระดับปริญญาตรี 107 คน ปริญญาโท 8 คน และปริญญาเอก 3 คน  จาก 27 มหาวิทยาลัย ทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 16 จังหวัดทั่วประเทศ คือ กรุงเทพฯ,ปทุมธานี,นครปฐม,ชลบุรี,จันทบุรี,เชียงใหม่,พิษณุโลก,ขอนแก่น,มหาสารคาม,อุบลราชธานี, นครศรีธรรมราช,ภูเก็ต,สงขลา,พัทลุง,แพร่,ปัตตานี และประเทศญี่ปุ่น

  1. ม.กรุงเทพ 1 คน
  2. ม.เกษตรศาตร์ 14 คน
  3. ม.ขอนแก่น 4 คน
  4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คน
  5. ม.เชียงใหม่ 2 คน
  6. ม.ทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง 1 คน
  7. ม.ธรรมศาสตร์ 1 คน
  8. ม.นเรศวร 7 คน
  9. ม.บูรพา 2 คน
  10. ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี 9 คน
  11. มทร.ศรีวิชัย 1 คน
  12. ม.มหาสารคาม 2 คน
  13. ม.มหิดล 5 คน
  14. ม.แม่โจ้ 1 คน
  15. ม.แม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ 1 คน
  16. ม.รังสิต 1 คน
  17. ม.ราชภัฎมหาสารคาม 4 คน
  18. ม.รามคำแหง 2 คน
  19. ม.วลัยลักษณ์ 25 คน
  20. วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรเเละประมงปัตตานี 1 คน
  21. ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 2 คน
  22. ม.ศิลปากร 2 คน
  23. ม.สงขลานครินทร์ 10 คน
  24. ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 12 คน
  25. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 4 คน
  26. ม.อุบลราชธานี 1 คน
  27. ม.Waseda University 1 คน

          จากผู้สมัคร จำนวน 118 คน ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการ และยืนยันสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ จำนวน 93 คน ประกอบด้วยนักศึกษาระดับ  ปริญญาตรี 86 คน ปริญญาโท 6 คน และปริญญาเอก 1 คน จาก 22 มหาวิทยาลัย ครอบคลุมพื้นที่ 13 จังหวัดทั่วประเทศ คือ กรุงเทพฯ,ปทุมธานี,นครปฐม,ชลบุรี,จันทบุรี,เชียงใหม่,พิษณุโลก,ขอนแก่น,มหาสารคาม,อุบลราชธานี,นครศรีธรรมราช, ภูเก็ต และสงขลา

  1. ม.กรุงเทพ 1 คน
  2. ม.เกษตรศาสตร์ 12 คน
  3. ม.ขอนแก่น 4 คน
  4. จุฬาลงกรณ์ 2 คน
  5. ม.เชียงใหม่ 2 คน
  6. ม.เทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 1 คน
  7. ม.นเรศวร 4 คน
  8. ม.บูรพา 2 คน
  9. ม.บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี 7 คน
  10. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 3 คน
  11. ม.มหาสารคาม 2 คน
  12. ม.มหิดล 2 คน
  13. ม.แม่โจ้ 1 คน
  14. ม.รังสิต 1 คน
  15. ม.ราชภัฏมหาสารคาม 1 คน
  16. ม.รามคำเเหง 2 คน
  17. ม.วลัยลักษณ์ 24 คน
  18. ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 2 คน
  19. ม.ศิลปากร 2 คน
  20. ม.สงขลานครินทร์ 7 คน
  21. ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 10 คน
  22. ม.อุบลราชธานี 1 คน

          หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมพิธีเปิด  โครงการจัดให้มีกิจกรรมบรรยายพิเศษ ในช่วง Special Talk ได้รับเกียรติบรรยาย หัวข้อ สถานการณ์ทะเลไทยกะบภาวะโลกร้อน โดย ผศ.ดร.ธรณ์ นาวาธำรงสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษรศาสตร์ โดยหลังจากกิจกรรมการบรรยายพิเศษ จะเป็นช่วงสำคัญของผู้เข้าอบรมที่จะได้รับฟังการชี้แจงกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ ตลอดจนการเจอกับที่ปรึกษากิจกรรมสัมมนาประจำกลุ่มครั้งแรก

จำนวนคนดู: 124