ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) เพื่อขับเคลื่อนนำความเป็นเลิศสู่สากล เพื่อจัดอันดับ THE Impact Ranking ภายใต้ ชุดโครงการส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน ร่วมกับ คณาจารย์ในมิติอาชีพ นำโดย ผศ.ดร.ทนง เอี่ยวศิริ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรลอุตสาหกรรมอาหาร อาจารย์ฮุชเซ็น นิยมเดชา รวมทั้งในมิติการศึกษา นำโดยอาจารย์ปวิธ ตันสกุล สำนักวิชาการจัดการ ลงพื้นที่จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และทักษะแก่ชุมชนในด้านการพัฒนามาตรฐานสินค้าประมงชายฝั่งการออกแบบผังโรงเรือน กระบวนการและเอกสารในการเตรียมขอรับรองเครื่องหมาย อย. และฮาลาล วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 ณ ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ ให้คำปรึกษาจัดทำเมนูอัตลักษณ์และการเลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นสำหรับการประกอบเมนูอาหาร เพิ่มทักษะและการใช้เทคโนโลยีสำหรับการดำเนินงานด้านการเกษตร รวมถึงการแปรรูป การผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้มีคุณภาพและความปลอดภัย การจัดทำมาตรฐานสินค้า กระบวนการและเอกสารในการเตรียมขอรับรองเครื่องหมายฮาลาล เพื่อให้การดำเนินงานของเกษตรกรมีคุณภาพ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร และสร้างแหล่งอาหารที่ยั่งยืน รวมทั้งการสร้างความตระหนักรู้ความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์ จัดการน้ำ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การทำการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดการขยะ รวมไปถึงกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวภายในชุมชนอย่างยั่งยืน
ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 2 Zero Hunger (ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน) ข้อที่ 4 Quality Education (ประกันคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมและเท่าเทียม และส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน) ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)