ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมประชุมหารือแนวทาง “ห่วงโซ่คุณภาพโกโก้นครศรีธรรมราช” สร้างร่วมมือด้านวิชาการ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผิงตง ประเทศไต้หวัน

          เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 เวลา 15.00 น. ณ ร้านกาแฟ Durka Cafe บริเวณศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  นางสาวพุทธพร ชุมแก้ว ธราพรสกุลวงศ์ จากฝ่ายบริหารโครงการและกิจกรรมพิเศษ ศูนย์บริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมหารือแนวทาง “ห่วงโซ่คุณภาพโกโก้นครศรีธรรมราช” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิยม กำลังดี  สาขาวิชาชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งโดยได้รับการติดต่อจากอาจารย์ชัยวัฒน์ เพียรการ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจภัตตาคาร คณะการจัดการธุรกิจอาหาร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผิงตง ประเทศไต้หวัน (National Pingtung University of Science and Technology, Department of Tropical Agriculture and International Cooperation (Doctoral Degree))

          การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมจากภาคผู้ประกอบการธุรกิจ คือ คุณจิรายุณัฐ อัจฉริยะขจร ผู้ผลิตแบรนด์ One More วันมอร์ช็อคโกแล็ต ท้องถิ่นเมืองนครฯ และผู้ผลิตโกโก้ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อร่วมหารือเพื่อพูดคุยกันเกี่ยวกับโกโก้ในพื้นที่ตำบลสระแก้ว อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพืชที่มีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งปัจจุบันได้ขยายเครือข่ายการผลิตไปตามภูมิภาคต่างๆแทบทั่วโลก โกโก้ตำบลสระแก้วเป็นแหล่งที่ปลูกโกโก้เยอะที่สุดในจังหวัด โดยมีการปลูกพืชชนิดแซมสวนผลไม้ เพื่อเป็นรายได้เสริมแก่เกษตรกร ต่อมามีแนวโน้มความต้องการของตลาดสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงเป็นแรงผลักดันให้มีการปลูกโกโก้เป็นพืชเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในพื้นที่ โดยการเก็บเก็บผลผลิตจะเริ่มเก็บในปีที่ 3 เป็นต้นไป     

          อย่างไรก็ตามการรวบรวมข้อมูลโกโก้ทั้งหมดของพื้นที่อำเภอท่าศาลา เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะคุณภาพของเมล็ดโกโก้ การวางแนวทางพัฒนาการผลิตโกโก้ เน้นกระบวนการปฏิบัติที่ดีทั้งก่อนและหลังเก็บเกี่ยวเพื่อลดการปนเปื้อน ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและปกป้องผู้บริโภคทั้งในภูมิภาคอาเซียนและทั่วโลกด้วยเป็นอย่างดี ตลอดทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ให้ความสำคัญกับมาตรฐานเมล็ดโกโก้ ความปลอดภัยทางอาหาร สถานการณ์การผลิตอุตสาหกรรม การตลาดโกโก้ของอาเซียน ขณะเดียวกันยังเกิดความร่วมมือด้านวิชาการและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ซึ่งนักวิจัยสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาต่อยอดให้เอื้อประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมโกโก้ได้ในอนาคต

           แม้ว่าจำนวนร้านกาแฟจะเพิ่มขึ้น และโกโก้จะได้รับความนิยมมากขึ้นตาม แต่โกโก้ยังคงเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย  และยังมีข้อจำกัดในการส่งเสริมการปลูกทั้งจากองค์ความรู้ในการดูแลรักษา การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ใช้ปลูก รวมถึงกระบวนการแปรรูป  ฉะนั้นเกษตกรที่เริ่มปลูกโกโก้ต้องหาข้อมูลให้มาก  

          ดังนั้น ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดทำแผนบริการวิชาการแก่สังคมโดยมีส่วนร่วมระหว่างสำนักวิชา และชุมชนพื้นที่รายรอบมหาวิทยาลัย เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพันธกิจชุมชนสัมพันธ์วิชาการรับใช้สังคม (Social Engagement) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น  เพื่อควบคุมมาตรฐาน  ได้แก่ ต้นพันธุ์มีคุณภาพ และคุณภาพของผลผลิต เพราะไปเกี่ยวข้องกับราคาส่งออก และเกิดความร่วมมือด้านวิชาการและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ระหว่างมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผิงตง ประเทศไต้หวัน เพื่อผลักดันสินค้าด้านเกษตรกร ที่ทั่วโลกมีความต้องการนำโกโก้ไปใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายทั้ง เครื่องสำอาง และอาหาร ทำให้ราคารับซื้อโกโก้สูงขึ้น ดังนั้นโกโก้สามารถเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีอนาคตของไทย

จำนวนคนดู: 148