ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และบริการให้คำปรึกษา ด้านมาตรฐานฟาร์มจีเอพี (GAP) เพื่อยกระดับคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม แก่กลุ่มเกษตรกร ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

          เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 ณ ศูนย์เครือข่ายฐานเรียนรู้ด้านประมง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายธีรพงศ์ ไกรนรา หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง สำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับนางสาวพุทธพร ชุมแก้ว ธราพรสกุลวงศ์ จากฝ่ายบริหารโครงการและกิจกรรมพิเศษ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์และบริการให้คำปรึกษา กิจกรรมที่ 4 ด้านมาตรฐานฟาร์มจีเอพี (GAP) เพื่อยกระดับคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม แก่กลุ่มเกษตรกร หมู่ที่ 7 ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนางเพชรลดา ดำรักษ์ ให้การต้อนรับ

          ศูนย์เครือข่ายฐานเรียนรู้ด้านประมง ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดจากการพัฒนาต่อยอดมาจากหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “หมู่บ้านฟาร์มปลานิลคุณภาพสู่มาตรฐาน” เป็นหนึ่งในหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และ ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นแบบอย่างในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประกอบอาชีพ พัฒนาตนเองให้มีความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น พร้อมหาแนวทางการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่กลุ่มสมาชิก โดยมีการบริหารจัดการฟาร์มมีมาตรฐาน กระบวนการจัดการพื้นที่ใช้สอยรอบๆ ปลูกพืชผัก ใช้น้ำในบ่อปลานิล มารดพืชผักต่างๆที่ปลูก ในพื้นที่รายรอบบ่อปลานิล เป็นต้น

          และในระหว่างวันที่ 8 -11 พฤศจิกายน 2562 ลงพื้นที่เพื่อการประชาสัมพันธ์และบริการให้คำปรึกษาฯ ในกิจกรรมที่ 4 ด้านมาตรฐานฟาร์มจีเอพี (GAP) เพื่อยกระดับคุณภาพเกรดพรีเมี่ยม ภายใต้โครงการ“กิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าประมงโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม”กำหนดจัดกิจกรรมฯ ณ ห้องดอกบัว โรงแรมทวินโลตัส ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สมาชิกในชุมชนตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี  และวันที่ 15 – 17 พฤศจิกายน 2562 ได้บริการให้คำปรึกษาด้านการทำตลาดออฟไลน์และตลาดออนไลน์ ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน หนึ่งในกลุ่มปลานิลแปลงใหญ่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

จำนวนคนดู: 30