ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ชุมชนต้นแบบ
หน้าตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
หน้าตัวอย่าง
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ติดต่อสอบถาม
Home
เกี่ยวกับ ศบว
ทำเนียบผู้บริหาร
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรศูนย์บริการวิชาการ
ติดต่อเรา
ทะเบียนที่ปรึกษา
ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มประวัติบุคลากรที่ปรึกษา
ตัวอย่างหนังสือรับรองผลงาน
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
ทุนบริการวิชาการ
หน้าตัวอย่าง
ดาวน์โหลด
แบบฟอร์มประวัติที่ปรึกษา
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์งานบริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มโครงการบริการวิชาการ
แบบแจ้งการบันทึกข้อมูลแผนการผลิตรายการโทรทัศน์
ขั้นตอนการดำเนินงานบริการวิชาการ
ขั้นตอนการดำเนินงานวิชาการรับใช้สังคม
แบบฟอร์ม
แบบฟอร์มประกอบการประเมิน QA
แบบรายงานตามเกณฑ์การประเมิน ITA
EN
ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมงานเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 มหาลัย
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ศ.ดร.วรรณา ชูฤทธ์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและบริการสังคม และผศ.ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ร่วมงานเปิดตัวโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาลัย) ณ ห้องแกรนด์ไดมอน บอลรูม อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี โดยมี ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นเข้าร่วม เพื่อรับทราบนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะแม่ข่าย เครือข่ายภาคใต้ตอนบน โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ภายในงานได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การกำหนดตัวชี้วัดและวิเคราะห์ความสำเร็จการพัฒนาตำบลแต่ละประเภท เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างความเข้าใจตัวชี้วัด โครงการ 1 ตำบล 1 มหาลัย ร่วมถึงเป็นการเชื่อมประสานและร่วมงานกับภาครัฐและภาคเอกชน นอกจากนี้โครงการ 1 ตำบล 1 มหาลัย ยังต้องทำงานร่วมกันกับ อว. ส่วนหน้า ที่ต้องการพัฒนาและยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ตามนโยบายการขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน
ทั้งนี้โครงการ 1 ตำบล 1 มหาลัย ในระยะแรก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีพื้นที่ดูแล 36 ตำบล ครอบคลุมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดชุมพร โดยโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกว่า 120 ล้านบาท ในการดำเนินโครงการและการจ้างงาน เพื่อช่วยเหลือการว่างงานของประชาชน นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมทั้งจะพัฒนาทักษะใน 4 ด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านการเงิน ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ทักษะทางสังคมและภาษาอังกฤษ ควบคู่ไปกับทักษะเฉพาะด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในพื้นที่ ที่สำคัญ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) อว.กำลังทำโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยระยะสอง เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยจะมีการจ้างงานอีก 4,900 ตำบล ครบทุกตำบลจะมีงานทำ ซึ่งนิสิต นักศึกษา บัณฑิตจบใหม่ รวมถึงประชาชน จะได้งานทำถึง 150,000 คน
จำนวนคนดู:
118