ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ชุมชนต้นแบบ
หน้าตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
หน้าตัวอย่าง
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ติดต่อสอบถาม
Home
เกี่ยวกับ ศบว
ทำเนียบผู้บริหาร
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรศูนย์บริการวิชาการ
ติดต่อเรา
ทะเบียนที่ปรึกษา
ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มประวัติบุคลากรที่ปรึกษา
ตัวอย่างหนังสือรับรองผลงาน
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
ทุนบริการวิชาการ
หน้าตัวอย่าง
ดาวน์โหลด
แบบฟอร์มประวัติที่ปรึกษา
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์งานบริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มโครงการบริการวิชาการ
แบบแจ้งการบันทึกข้อมูลแผนการผลิตรายการโทรทัศน์
ขั้นตอนการดำเนินงานบริการวิชาการ
ขั้นตอนการดำเนินงานวิชาการรับใช้สังคม
แบบฟอร์ม
แบบฟอร์มประกอบการประเมิน QA
แบบรายงานตามเกณฑ์การประเมิน ITA
EN
ประชุมติดตามและประเมินโครงการสร้างนักพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยี (วช.จ้างงานระยะสั้น 4 เดือน) “พัฒนาทักษะผู้ถูกจ้างงาน พร้อมยกระดับเศรษฐกิจฐานราก วิสาหกิจชุมชน”
วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.30 น. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย นายประพันธ์ พัฒน์ทอง หัวหน้าฝ่ายประชาสังคมและชุมชน ศูนย์บริการวิชาการ และคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ร่วมด้วย คณะทำงานอำนวยการศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วยคณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ นำโดย ท่านสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ ดร.มารยาท สมุทรสาคร ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายธวัช หมัดเต๊ะ สำนักกิจกรรมเพื่อสังคม ร่วมประชุมติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการสร้างนักพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยี ณ ห้องประชุมศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศครบวงจร ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
โครงการสร้างนักพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม เพื่อการพัฒนาชุมชนด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยี เป็นโครงการที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ และบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) ได้รับอนุมัติงบประมาณการจ้างงาน จำนวน 30 คน และกิจกรรมยกระดับพัฒนาวิสาหกิจชุมชน จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงหมูครบวงจร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์ (ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา) กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ “จาก” และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศครบวงจร (ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง) กลุ่มวิสาหกิจกลุ่มปลูกผักปากพนังปลอดภัย (ต.ป่าระกำ อ.ปากพนัง) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการจ้างงานและพัฒนาทักษะนักศึกษา บัณฑิตที่จบใหม่ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์วิกฤต พร้อมยกระดับเศรษฐกิจฐานราก วิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้งมุ่งเน้นเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและสร้างอาชีพจากพลังความคิดของเยาวชนรุ่นใหม่ในพื้นที่ ตลอดจนหาโอกาสทางธุรกิจให้กับเศรษฐกิจฐานรากชุมชน
ในการนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ให้การต้อนรับคณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ฯ และชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการโครงการ โดยผู้จ้างงานได้นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการ ทั้งนี้ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการฯ หน่วยงานภาคีพัฒนา ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้จ้างงาน ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสนอแนะเพื่อพัฒนาโครงการ โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นว่า ผู้ถูกจ้างงานมีศักยภาพและสมรรถนะเพิ่มขึ้น ทั้งด้านทัศนคติ ทักษะ เครื่องมือ และองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อาทิ การวิเคราะห์และแก้ปัญหาชุมชน การพัฒนานวัตกรรมทางสังคม เทคโนโลยีด้านการเกษตรและอาหารแปรรูป เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงาน ยังสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดโครงการ Start up ของตนเอง เป็นผู้ประกอบทางสังคม รวมทั้งมีส่วนสำคัญช่วยพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จ้างงาน มีการเพิ่มรายได้ ลดต้นทุนการผลิต พร้อมทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะการเพิ่มทักษะการเป็นผู้ประกอบการแก่ผู้จ้างงานและแนวทางการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานให้เกิดความยั่งยืน พึ่งตนเองให้ได้ ดังนั้น ภาพรวมแล้วโครงการดังกล่าวมีการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ คณะทำงานโครงการฯ จะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาต่อยอดในการดำเนินงานในลำดับต่อไป
จำนวนคนดู:
35