ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ชุมชนต้นแบบ
หน้าตัวอย่าง
ผลิตภัณฑ์ชุมชน
หน้าตัวอย่าง
ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
ติดต่อสอบถาม
Home
เกี่ยวกับ ศบว
ทำเนียบผู้บริหาร
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรศูนย์บริการวิชาการ
ติดต่อเรา
ทะเบียนที่ปรึกษา
ขั้นตอนการจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มประวัติบุคลากรที่ปรึกษา
ตัวอย่างหนังสือรับรองผลงาน
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
ทุนบริการวิชาการ
หน้าตัวอย่าง
ดาวน์โหลด
แบบฟอร์มประวัติที่ปรึกษา
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์งานบริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
แบบฟอร์มขอเอกสารจดทะเบียนที่ปรึกษา
แบบฟอร์มโครงการบริการวิชาการ
แบบแจ้งการบันทึกข้อมูลแผนการผลิตรายการโทรทัศน์
ขั้นตอนการดำเนินงานบริการวิชาการ
ขั้นตอนการดำเนินงานวิชาการรับใช้สังคม
แบบฟอร์ม
แบบฟอร์มประกอบการประเมิน QA
แบบรายงานตามเกณฑ์การประเมิน ITA
EN
ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ฟื้นฟูอาชีพชุมชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชหลังประสบอุทกภัย
เมื่อระหว่างวันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา นักวิชาการศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ร่วมกับ คณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม แก่ผู้แทนชุมชนเพื่อฟื้นฟูอาชีพเกษตรหลังประสบอุทกภัยในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายจังหวัดนครศรีธรรมราชภายใต้ความร่วมมือสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ
กิจกรรมลงพื้นที่ชุมชนเพื่อบริการให้คำปรึกษาและบริการข้อมูลการใช้งานเชื้อราไตรโคเดอร์มาในรูปแบบต่างๆ พร้อมมอบเชื้อราไตรโคเดอร์มาสายพันธุ์ NST-009 แก่ผู้แทนชุมชนและผู้แทนหน่วยงานเพื่อฟื้นฟูอาชีพเกษตรหลังประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
1.พื้นที่ชุมชนวังอ่าง และสมาชิกโรงเรียนพื้นที่ตำบลวังอ่าง ได้แก่ ศูนย์การเรียน ตชด.บ้านหลังอ้ายหมี โรงเรียนบ้านควนมิตร โรงเรียนบ้านหนองนนทรี และ โรงเรียน ตชด.บ้านควนมีชัย อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายภายใต้โครงการการยกระดับพืชผักพื้นถิ่นปลอดภัยเพื่อส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
2.พื้นที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา และพื้นที่บ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายภายใต้โครงการเกษตรปลอดภัยโดยชีววิธี ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
อนึ่ง กิจกรรมในครั้งนี้ ดำเนินการตามแนวคิด Happy Tree Model ชุมชนอยู่ดีมีสุขแบบองค์รวมเป็นกรอบหลักเพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ในมิติต่าง ๆ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ การศึกษา อาชีพ สุขภาพ ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรม เน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือบูรณาการในระดับชุมชน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมดำเนินการตามแนวทางการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) เพื่อความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ขอขอบคุณ คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ที่ร่วมดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง
จำนวนคนดู:
51