ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ขอเชิญน้องๆ มัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมค่ายสัตวแพทย์ (WU VET Camp) รุ่นที่ 1
ม.วลัยลักษณ์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เรียนรู้และแลกเปลี่ยนงานวิชาการรับใช้สังคมและการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม

          ม.วลัยลักษณ์ โดย ศูนย์บริการวิชาการร่วมกับสถาบันวิจัยและนวัตกรรม จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เรียนรู้และแลกเปลี่ยนงานวิชาการรับใช้สังคมและการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม” เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินโครงการตามรูปแบบพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนของมหาวิทยาลัย (Social Engagement) แนวทางขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม แก่คณาจารย์ บุคลากรและผู้สนใจ โดย      ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวเปิดงาน รองศาสตราจารย์ ดร. วรรณา ชูฤทธิ์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการสังคม กล่าวรายงาน และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา มิ่งฉาย จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุตรดิตถ์ บรรยายพิเศษในหัวข้อ “วิชาการรับใช้สังคม”และ “การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม” เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย

          ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานบริการวิชาการแก่สังคม โดยประยุกต์องค์ความรู้วิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปสู่การพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่ชุมชน ภายใต้วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย คือ “การเป็นหลักในถิ่น” โดยปัจจุบันภาครัฐมีความต้องการงานวิจัยเชิงพื้นที่ซึ่งเป็นการวิจัยเพื่อสังคม ไม่ใช่งานวิจัยเพียงเพื่อการขอตำแหน่งวิชาการของนักวิจัยเท่านั้น

          การวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
          1)งานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งประเทศไทยยังมีความรู้ใหม่ๆน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และ 2). การวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาให้เกิดนวัตกรรม เพื่อสร้างการผลิตและมูลค่าเพิ่มต่างๆ ในปีนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้สนับสนุนคณาจารย์ ดำเนินโรงการวิชาการรับใช้สังคม นำงานวิชาการประยุกต์ใช้ แก้ปัญหาและตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน ในสาขาที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรม สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ได้แก่ การยกระดับอาชีพ สุขภาพ การศึกษา ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบที่สามารถนำวิชาการมาพัฒนาหรือแก้ปัญหาเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

          การอบรมเชิงปฏิบัติการ “เรียนรู้และแลกเปลี่ยนงานวิชาการรับใช้สังคมและการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้านรับใช้สังคม” ในครั้งนี้ยังเป็นการนำเสนอผลความก้าวหน้าโครงการพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Social Engagement) ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนในปีงบประมาณ 2562 โดยในระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม – 20 กันยายน 2561 ศูนย์บริการวิชาการร่วมกับคณาจารย์ทุกสำนักวิชาและวิทยาลัยนานาชาติ สำรวจความต้องการ ระดมความคิดเห็นและจัดทำแผนบริการวิชาการร่วมกับชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช อาทิ แนวทางการจัดการชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ชุมชน 6 อำเภอชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง และอำเภอหัวไทร) และพื้นที่ชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัย (ตำบลท่าศาลา ตำบลไทยบุรี ตำบลหัวตะพานและตำบลโมคลาน) นับเป็นการบูรณาการวิชาการเพื่อการดำเนินโครงการวิชาการรับใช้สังคม ตอบโจทย์ตามความต้องการของชุมชน ภายใต้แนวคิด “ต้นไม้แห่งความสุข Happy Tree Model ชุมชนอยู่ดีมีสุขแบบองค์รวม” เป็นกรอบในการสำรวจความต้องการของชุมชนในการสนับสนุนองค์ความรู้ตามมิติต่างๆ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ อาชีพ สุขภาพ การศึกษา ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม โดยเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือบูรณาการเพื่อการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์และมีความยั่งยืนในระดับชุมชนต่อไป

ข่าว/ภาพ ชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร

จำนวนคนดู: 18