ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ขอเชิญน้องๆ มัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมค่ายสัตวแพทย์ (WU VET Camp) รุ่นที่ 1 เพื่อส่งเสริมความต้องการของตนเองในการเลือกเรียนวิชาชีพสัตวแพทย์
ศูนย์บริการวิชาการ จัดประชุมหารือและทำความเข้าใจร่วมโครงการ Social Engagement 2019

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดประชุมคณะทำงานที่ให้บริการวิชาการรับใช้สังคมโครงการพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Social Engagement) ตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบองค์รวม (Holistic area-based model) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 จำนวน 20 โครงการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,4000,000 บาท เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการดำเนินโครงการตามรูปแบบ Social Engagement แก่ผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารวิจัยและบริการวิชาการ

          โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ เป็นประธานชี้แจงหารือและทำความเข้าใจร่วมโครงการ Social Engagement 2019 ที่มาของ 20 โครงการ จากการลงพื้นที่ของคณาจารย์ทุกสำนักวิชาและคณะทำงานของศูนย์บริการวิชาการ เพื่อสำรวจความต้องการ ระดมความคิดเห็น และจัดทำแผนบริการวิชาการร่วมกับชุมชนรายรอบในจังหวัดนครศรีธรรมราช อาทิ แนวทางการจัดการชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมพื้นที่ชุมชน 6 อำเภอชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอขนอม อำเภอสิชล อำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอปากพนัง และอำเภอหัวไทร) และพื้นที่ชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ตำบลท่าศาลา ตำบลไทยบุรี ตำบลหัวตะพาน และตำบลโมคลาน) ในระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม 2561 ถึง 20 กันยายน 2561 และการลงพื้นที่สำรวจของคณาจารย์จากวิทยาลัยนานาชาติ ในพื้นที่ชุมชนบ้านในถุ้ง และชุมชนบ้านแหลม ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2561 ภายใต้การบูรณาการร่วมกันจากหน่วยงาน 13 สำนักวิชา และวิทยาลัยนานาชาติ นั้น

          การบูรณาการร่วมกันเพื่อตอบโจทย์ตามความต้องการของชุมชน ต่อเนื่องอย่างความยั่งยืน เป็นหลักในถิ่น เห็นผลการเปลี่ยนแปลงภายใต้แผนงานบริการวิชาการรับใช้สังคมครั้งนี้ ภายใต้แนวคิด “ต้นไม้แห่งความสุข Happy Tree Model ชุมชนอยู่ดีมีสุขแบบองค์รวม” เป็นกรอบหลักในการสำรวจความต้องการของชุมชน เพื่อการสนับสนุนองค์ความรู้ในมิติต่าง ๆ ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ อาชีพ สุขภาพ การศึกษา ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรม เน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือบูรณาการในระดับชุมชน อีกทั้งเพื่อให้อาจารย์ผู้ซึ่งดำเนินโครงการ Social Engagement ได้แนวทางปฏิบัติที่ตรงตามความต้องการของชุมชนในการนำไปดำเนินงานด้านวิชาการรับใช้สังคม เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและมีความยั่งยืน และแตกต่างจากงานบริการวิชาการอย่างไร ด้วยการสร้างมาตรฐานในการดำเนินงานโครงการ Social Engagement ใน 1 ปีงานโครงการ Social Engagement รวมทั้งการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านบริการวิชาการแก่สังคม

          การประชุมครั้งนี้ รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้ชี้แจงแนวปฏิบัติด้านการทำงานบริการวิชาการรับใช้สังคมและชุมชนมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการดำเนินการอย่างแท้จริงในการดำเนินงานเพื่อสังคมไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อีกทั้งผลงานการบริการวิชาการรับใช้สังคมของเหล่าคณาจารย์ ทั้ง 20 โครงการ สามารถคิดเป็นภาระงานเทียบเท่างานวิจัยด้วย

          นอกจากนี้เพื่อให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมได้ประโยชน์ ร่วมเรียนรู้ และเกิดผลกระทบที่ดีต่อสังคม ชุมชน ในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงองค์กรในต่างประเทศ จึงได้กำหนดให้มีการรายงานผลความก้าวหน้าโครงการพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Social Engagement) ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2562 และการนำเสนอผลงานทางวิชาการในการประชุมวิชาการรับใช้สังคม ในระหว่างเดือนกรกฏาคม – เดือนสิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต่อไป

จำนวนคนดู: 19