ชุมชนต้นแบบ : ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่งบ้านในถุ้ง

ชุมชนต้นแบบ

            ชุมชนบ้านในถุ้ง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการจัดทำธนาคารปูม้าทั้งรูปแบบโรงเรือนบนชายฝั่งและรูปแบบกระชัง มีจำนวนสมาชิกกลุ่มกว่า 20 คน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมและบริจาคปูม้าจำนวน 50 คน มีจำนวนแม่พันธุ์ปูม้า ประมาณ 3,000 ตัว/ปี จัดกิจกรรมอนุรักษ์อื่นๆในพื้นที่ จัดทำบ้านปลา และไม่ใช่เครื่องมือประมงทำลายระบบนิเวศ โดยมีการปล่อยปูม้าระยะซูเอี้ย อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมปล่อยปูม้า เพื่อสร้างความตระหนักให้กับระบบนิเวศ โดยการปล่อยลูกปูม้าในช่วงเวลาและบริเวณที่เหมาะสมห่างจากชายฝั่งประมาณ 1 กิโลเมตร มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนต่างรายได้จากการขายแม่ปูม้า นำไปบริหารจัดการโครงการและเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชนในชุมชน

            ความสำเร็จจากการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าและระบบนิเวศ เพิ่มปริมาณผลจับและสร้างระบบนิเวศที่ดีขึ้นให้กับชายฝั่งอำเภอท่าศาลา จนได้รับการขนานนามว่า “อ่าวทองคำ”จากข้อมูลสถิติผลจับรวบรวมโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าจำนวนสัตว์น้ำโดยเฉพาะ ปูม้า เพิ่มจำนวนเชิงประจักษ์จากเดิมน้อยกว่า 10 กก./เที่ยว เพิ่มเป็น 15 – 30 กก./เที่ยว ทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า15,000 – 20,000 บาท/คน นอกจากนี้จากการสำรวจชนิดสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งพบว่ามีสัตว์น้ำกว่า 200 ชนิด แสดงถึงระบบนิเวศที่ซับซ้อนมีความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำสูง ประชาชนผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพประมง สามารถทำอาชีพต่อเนื่องจากการฟื้นฟูของปูม้า เช่น อาชีพมัดปู แกะเนื้อปู ทำความสะอาดอวน ซึ่งสร้างรายได้ให้กับชุมชนในภาพรวมหน่วยงานต่างๆโดยเฉพาะภาคเอกชนประสงค์จะมาร่วมทำงานในพื้นที่สร้างกิจกรรมต่อเนื่องทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ และชาวประมงเข้าถึงโอกาสในการสร้างอาชีพต่อเนื่องจากการทำธนาคารปูม้ามากขึ้นเช่นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ร้านค้าอาหารท้องถิ่น เป็นต้น รางวัลและชื่อเสียงของชุมชนต้นแบบ ขยายผลต่อการเกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน

         – รับพระราชทานรางวัลเกษตรกรดีเด่นด้านการเพาะเลี้ยงและการประมงชายฝั่ง ในปี พ.ศ. 2562 จาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10
         – รางวัลเกษตรกรดีเด่นดีานการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
         – รางวัลชุมชนต้นแบบด้านการบริหารจัดการประมงชายฝั่งโดยชุมชนระดับเขตและระดับภาค มอบโดย กรมประมง
         – รางวัลชุมชนต้นแบบต้นไม้แห่งความสุข มอบโดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
         – รางวัลนวัตกรรมสื่อเผยแพร่ธนาคารปูม้าต้นแบบ มอบโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
         – รางวัลอาสาสมัครพิทักษ์ ทรัพยากรดีเด่น มอบโดย กระทรวงทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ชุมชนต้นแบบ : ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์

ชุมชนต้นแบบ

            ชุมชนบ้านหาดสมบูรณ์ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการจัดทำธนาคารปูม้ารูปแบบโรงเรือนบนฝั่งมีสมาชิกกลุ่ม จำนวนกว่า 30 คน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมและบริจาคปูม้าจำนวน 73 คน มีจำนวนแม่พันธุ์ปูม้าบริจาค จำนวนมากประมาณ 7,000 ตัว/ปี ปล่อยปูม้าระยะซูเอี้ยทุกวันรวมทั้งมีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมปล่อยปูม้า เพื่อสร้างความตระหนัก ทำข้อตกลงร่วมโดยชุมชน ไม่ทำประมงในเขตห่างฝั่ง500 เมตร จัดกิจกรรมถ่ายทอดและสร้างความตระหนักแก่ผู้สนใจอย่างสม่ำเสมอ ส่วนต่างรายได้จากการขายแม่ปูม้านำไปเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กในชุมชนมีกิจกรรมอนุรักษ์อื่นๆในพื้นที่ จัดทำบ้านปลา 

The Center for Academic Services,Walailak University

Walailak University 222 Thaiburi, Thasala district , Nakhon si thammarat 80160 Thailand

จำนวนคนดู: 1,169