ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผลงานด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯ โรงเรียนชุมชนใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผลงานด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯ โรงเรียนชุมชนใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผลงานด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯ โรงเรียนชุมชนใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
          เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 โรงเรียนชุมชนใหม่ นำโดย ท่านผู้อำนวยการไฟซอล ยีโกบ เข้ารับโล่รางวัลชนะเลิศ ระดับยอดเยี่ยม ได้รับการคัดเลือกผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามศาสตร์พระราชา โรงเรียนชุมชนใหม่” ประจำปีงบประมาณ 2564 จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
          งานยกระดับพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามศาสตร์พระราชา โรงเรียนชุมชนใหม่ เป็นการดำเนินงานขับเคลื่อน  ร่วมกับ โรงเรียนเรียนชุมชนใหม่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดยศูนย์บริการวิชาการ จับมือร่วมกับสำนักวิชาต่าง ๆ อาทิ สำนักพาหุภาษาและการศึกษาทั่วไป สำนักวิชาศิลปศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ภายใต้การดำเนินงานโครงการงบสนับสนุนการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Social Engagement) พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจุดเริ่มต้นโรงเรียนชุมชนใหม่ ด้วยผู้บริหาร และคณะครู มีความสนใจกระบวนการจัดการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้การสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถสร้างการเรียนรู้ ประสบการณ์ชีวิต เชื่อมโยงกับการฝึกอาชีพ ทั้งทักษะการเกษตรและบริหารธุรกิจ ในปี 2561 จึงริเริ่มดำเนินการพัฒนา “ก่อร่าง สร้างศูนย์การเรียนรู้” เกิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริตามศาสตร์พระราชาเพื่ออาหารกลางวัน โดยมุ่งเป้าการตอบสนองเพื่อให้อาหารกลางวันเพียงพอ ครบถ้วนทางโภชนาการ ตลอดจนปลอดภัยต่อนักเรียน ต่อมาในปี 2563 ได้เริ่มดำเนินการเชื่อมโยงการเรียนการสอนของนักเรียน บูรณาการการเรียนรู้นอกห้องเรียน “พัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ควบคู่หลักสูตรบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” ขึ้น จนเกิด (ร่าง) หลักสูตร ฯ ต้นแบบ นักเรียนได้รับความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปต่อยอดประกอบเป็นอาชีพของตนเองเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้ โรงเรียนมีวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน ตลอดจนพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้มีฐานการเรียนรู้สอดคล้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรฯ โดยปี 2564 ได้ดำเนินการ “ต่อยอด ขยายผล” เกิดศูนย์การเรียนรู้ฯ รองรับเป็นแหล่งเรียนรู้พร้อมสำหรับต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนที่มีการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมสร้างเครือข่ายและถ่ายทอดความรู้การนำหลักสูตรฯ ไปเผยแพร่ขยายพื้นที่ในโรงเรียนชุมชนรายรอบ การดำเนินงานดังกล่าวสามารถสร้างผลกระทบของการบริการวิชาการรับใช้สังคมอย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) อาทิ เป้าหมายข้อที่ 1 “No Poverty” ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ เป้าหมายข้อที่ 2 “Zero Hunger” ขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน เป้าหมายข้อที่ 3 “Good Health and Well-being” ส่งเสริมการมีสุขภาวะและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของวัยเด็ก เป้าหมายข้อที่ 4 “Quality Education” ส่งเสริมทำให้ได้รับการศึกษาที่ได้คุณภาพอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน และเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” ได้มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง บูรณาการระหว่างศาสตร์และสร้างความร่วมมือทั้งหน่วยงานภายในและนอกของมหาวิทยาลัย
          ในการนี้ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนชุมชนใหม่ โรงเรียนคู่เคียงมหาวิทยาลัย ในโอกาสได้รับรางวัลดังกล่าว และพร้อมสำหรับการร่วมขับเคลื่อนงาน สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต
ผลงานด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯ โรงเรียนชุมชนใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผลงานด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯ โรงเรียนชุมชนใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผลงานด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯ โรงเรียนชุมชนใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผลงานด้านบริหารจัดการ “การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯ โรงเรียนชุมชนใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยม ผลงานที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
จำนวนคนดู: 269