ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สภาพัฒน์และกระทรวง อว. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ จังหวัดนครศรีธรรมราช

          เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย รศ.ดร.ศราวุธ ปาลิโภชน์ รักษาการแทนรองอธิการบดี ,ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริกาวิชาการ,รศ.ดร.รุ่งรวี จิตภักดี ผู้อำนวยการอุทยานพฤกษศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ พื้นที่ตำบลขนาบนาก) ,อาจารย์ปวิธ ตันสกุล อาจารย์ประจำสำนักวิชาการจัดการ ,นายสุทิน คงละออ นายกอบต.ขนาบนาก ,นายปัญญพงษ์ สงพะโยม หัวหน้าฝ่ายขยายผล ศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ,นายเศวตฉัตร บุญมิ่ง ผู้อำนวยการส่วนจัดการต้นน้ำ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ระบบนิเวศจากครบวงจรบ้านบางตะลุมพอ ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง ต้อนรับ ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานบอร์ดสภาพัฒน์ และคณะอนุกรรมการฯ จากสภาพัฒน์ และกระทรวง อว. เพื่อประชุมหารือและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ภายใต้ พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ กรณีโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์จากต้นจากและนมควาย ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย ศูนย์บริการวิชาการและสำนักวิชา 15 สำนักวิชา คณาจารย์กว่า 100 คน ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) จำนวน 36 ตำบล และ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) จำนวน 85 ตำบล ครอบคลุม 4 จังหวัด กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อบูรณาการสนับสนุนการพัฒนา ส่งเสริม ผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดจำนวน 171 ผลิตภัณฑ์/บริการ ร่วมจัดทำ วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชนขนาดใหญ่ (Thailand Community Big Data : TCD) ในพื้นที่มากกว่า 40,000 ข้อมูล และมีภาคีเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการขับเคลื่อนงานวิชาการรับใช้สังคมและกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ กว่า 269 หน่วยงาน และมีผู้ร่วมโครงการในพื้นที่ตำบลทั้ง 2 ระยะ มากกว่า 1,400 อัตรา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำลังดำเนินการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต้นแบบของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้งรูปแบบ Onsite และ Online อย่างต่อเนื่อง

          ภาพรวมโครงการที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินการมา 2 ระยะ โดยโครงการระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2564 มีจำนวน 36 ตำบล 13 อำเภอ 4 จังหวัด  มีจำนวนผู้จ้างงานตำบลละ 20 อัตรา รวมทั้งสิ้น 720 อัตรา เป็นระยะเวลา 11 เดือน รวมงบประมาณการจ้างงาน 95,040,000 บาท  โครงการระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2565 มีตำบลเดิมเข้าร่วมโครงการจำนวน 37 ตำบล และตำบลใหม่จำนวน 48 ตำบล รวมทั้งสิ้น 85 ตำบล 16 อำเภอ 4 จังหวัด โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ตำบลเดิมตำบลละ 8 อัตรา ตำบลใหม่ ตำบลละ 10 อัตรา รวมทั้งสิ้น 776 อัตรา มีระยะเวลาจ้างงานจำนวน 3 เดือน  งบประมาณการจ้างงานรวม 27,936,000 บาท

จำนวนคนดู: 58