ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ โรงเรียนชุมชนใหม่ ระดมความคิดเห็นและขับเคลื่อนกิจกรรม ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนหลักสูตรบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงฯ
ข่าวโครงการนวัตกรรมฯ

          วันที่ 9 พฤกษภาคม 2566 ที่ผ่านมาคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการประชุมหารือ ร่วมกับ อาจารย์ธชมล  กำลังเกื้อ อาจารย์สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป อาจารย์อนุชสรา เรืองมาก สำนักวิชาศิลปศาสตร์ ประชุมหารือเพื่อเตรียมพร้อมลงพื้นที่ดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนหลักสูตรบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนใหม่และโรงเรียนพื้นที่ชุมชนรายรอบ ปีที่ 4  และสนับสนุนโรงเรียนชุมชนใหม่ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนหลักสูตรบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนใหม่ และโรงเรียนพื้นที่ชุมชนรายรอบ ปีที่ 4 มุ่งเน้นพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การผลิตสื่อวิดีโอในรายวิชาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสรุปความคิดรวบยอดของเนื้อหาในแต่ละระดับชั้นให้มีความกระชับ เข้าใจง่าย มีแบบฝึกหัดให้นักเรียนได้ทดสอบก่อนและหลังเรียน สอดคล้องกับพัฒนาการและวัยของนักเรียน สื่อประเภทนี้คือสื่อการเรียนรู้เชิงบันเทิง (Edutainment) ซึ่งสามารถลดเวลาเรียนในชั้นเรียน เพิ่มทักษะการปฏิบัติการเรียนรู้จากสภาพความจริงได้มากขึ้น ตลอดจนพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมสำหรับการขยายผล
          ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา อาจารย์ธชมล  กำลังเกื้อ อาจารย์สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป นายไฟซอล ยีโกบ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนใหม่ คณะนักเรียนต้นกล้าพอเพียงโรงเรียนชุมชนใหม่และคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาข้อเสนอโครงการฯ การลงพื้นที่บูรณาการกิจกรรม ลงพื้นที่โรงเรียนขยายผล เพื่อเตรียมรับการประเมินสถานศึกษาพอเพียง โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 6 โรงเรียน ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โรงเรียนวัดกระดังงา อำเภอขนอม โรงเรียนบ้านไสเหรียง อำเภอสิชล โรงเรียนวัดโยธาธรรม อำเภอพรหมคีรี โรงเรียนบ้านหนองหว้า อำเภอท่าศาลา โรงเรียนบ้านพังหรันและโรงเรียนบ้านปากลง อำเภอนบพิตำ โดยร่วมขับเคลื่อน ทั้งการส่งเสริมยกระดับการพัฒนาเป็นสถานศึกษาพอเพียง การสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนขยายผล ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างถูกต้อง ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลฐานการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะ ปรับภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน ทั้งนี้ได้มอบเมล็ดพันธุ์ผัก ต้นพันธุ์ผัก น้ำหมักชีวภาพ ร่วมกันเตรียมแปลงปลูก นำต้นกล้าลงแปลง หว่านเมล็ดลงในแปลงผักสวนครัว อาทิ เช่น พริก ถั่วฟักยาว มะเขือ ผักบุ้ง เป็นต้น

ข่าวโครงการนวัตกรรมฯ
ข่าวโครงการนวัตกรรมฯ
ข่าวโครงการนวัตกรรมฯ
ข่าวโครงการนวัตกรรมฯ
ข่าวโครงการนวัตกรรมฯ
ข่าวโครงการนวัตกรรมฯ
จำนวนคนดู: 33