ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ติดตาม พ่อ เม่พันธุ์สุกร เพื่อเตรียมผลิตสุกรพันธุ์คุณภาพสองสาย แก่กลุ่มวิสาหกิจหมูฯ ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
วิสาหกิจหมู

          เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.กฤติกา กาบพลอย สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร อาจารย์ สพ.ญ. รัชฎาพร  บริพันธุ์ วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี และคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ ร่วมกับ ประธานกลุ่มวิสาหกิจหมู ฯ เพื่อติดตามสุขภาพ ให้คำปรึกษา รวมทั้งแนะนำวิธีการดูแล สังเกต พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เพื่อผลิตสุกรพันธุ์ สองสาย แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงสุกรครบวงจรฯ ณ ชุมขนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
          โครงการพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการสุกรที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เพื่ออาชีพที่มั่นคง ปีที่ 4” โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการแผนการผลิตสุกรแบบครบวงจร โดยเฉพาะการผลิตแม่สุกรสองสายพันธุ์เพื่อขายให้แก่สมาชิก และตลาด ผ่านกลไกการบริหารจัดการของกลุ่มวิสาหกิจ ตลอดจนให้องค์ความรู้วางแผนการจัดการในเรื่อง การจัดตรวจสัดและการผสมแม่สุกร การจัดการแม่ผสมและแม่อุ้มท้อง การดูแลแม่สุกรอุ้มท้อง และการจัดการแม่สุกรช่วงคลอดและเลี้ยงลูก โดยบูรณาการร่วมกับโครงการพัฒนาการจัดการสุขภาพสุกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
          โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์ การป้องกันโรค ให้คำปรึกษา การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อเบื้องต้นในระดับฟาร์ม รวมถึงการส่งเสริมการจัดการสุกรพ่อแม่พันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
          ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.กฤติกา กาบพลอย สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร อาจารย์ สพ.ญ. รัชฎาพร  บริพันธุ์ วิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารีและคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาข้อเสนอโครงการ การลงพื้นที่บูรณาการกิจกรรมเพื่อรับพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เพื่อผลิตสุกรพันธุ์ สองสาย จำนวน 9 ตัว จากฟาร์มคุณภาพ จากการรวมซื้อ ของกลุ่มวิสาหกิจ จึงทำให้ทางฟาร์มที่จำหน่ายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เสนอราคาพิเศษ พ่อพันธุ์ จากเดิม ตัวละ 24,000 บาท เหลือตัวละ 20,000 บาท แม่พันธุ์ จากเดิม ตัวละ 25,000 เหลือตัวละ 20,000 บาท ทำให้เกษตรกรลดต้นทุน 44,000 บาท อีกทั้งลงพื้นที่เพื่อสังเกต ติดตามลักษณะทางกายภาพเบื้องต้น และบริเวณที่อยู่อาศัย รวมทั้งแนะนำวิธีการดูแล สังเกตพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ในช่วงระยะแรก การดำเนินการติดตามฟาร์มต้นแบบ การจัดการภายในฟาร์ม การจดบันทึก ติดตามดูแลสุขภาพ โดยการเจาะเลือด ตรวจระบบสืบพันธ์ โรคแท้ง พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ต่อไป

วิสาหกิจหมู
วิสาหกิจหมู
วิสาหกิจหมู
วิสาหกิจหมู
จำนวนคนดู: 47