ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มวล. จับมือ ชุมชนต้นแบบ ขยายผลการใช้ชีวภัณฑ์สู่เครือข่ายเกษตรกรชะอวด

          วันที่ 6 มิถุนายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา พร้อม คณะทำงานศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร ผู้แทนนักศึกษาสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และคณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัด ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการให้คำปรึกษา “การขยายชีวภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน” (การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา เมธาไรเซียม บิวเวอร์เรีย เพื่อควบคุมโรคพืชและศัตรูพืช การใช้ประโยชน์จากสารชีวภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ การบริการให้คำปรึกษาด้านโรคพืชรายบุคคล) (SDG2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างมหาวิทยาลัยและเครือข่ายเกษตรกร กรณีศึกษา : กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นสื่อและทักษะที่จำเป็นเพื่อการขยายชีวภัณฑ์สำหรับหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ (SDG4) และการเรียนรู้ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” สำหรับชุมชน (SDG17) แก่ ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดชะอวดพูนผล ตำบลเกาะขันธ์ วิสาหกิจชุมชนบ้านเศษตะคอน ตำบลท่าเสม็ด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์อำเภอชะอวด และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสวนพ่อ ร.9 ทุ่งนาใต้ ตำบลท่าประจะ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
          อนึ่ง กิจกรรมดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัด ตำบลวังอ่าง ร่วมดำเนินการตามแนวทางการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและรายได้ของผู้ผลิตอาหารรายเล็ก โดยเฉพาะผู้หญิง คนพื้นเมือง ครัวเรือนเกษตรกร เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และชาวประมง ให้เพิ่มขึ้น เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจำนวนการตายและการป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสาหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน และเป้าหมายข้อที่ 17 “Partnerships for the Goals” การเรียนรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ พร้อมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาทียั่งยืน ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ขอขอบคุณ คณาจารย์ ผู้แทนนักศึกษา ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ ที่ร่วมดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง

จำนวนคนดู: 41