ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะชาวประมงและผู้ประกอบการสำหรับการบริหารธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน และการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย 4 จังหวัด

          เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่าน ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะหัวหน้าโครงการ นำทีมคณาจารย์ รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี ดร.สุขุมาล กล่ำแสงใส สำนักวิชาการจัดการ ดร.กนกวรรณ มีสุข สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา กฤษณะพันธ์ สำนักสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ อาจารย์ติวากร คำจุน สถาบันซัคเซสไอเดีย และ ดร.สิริวรรณ หนูเซ่ง กรมประมงวากร คำจุน สถาบันซัคเซสไอเดีย ดร. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแบบรวบยอด และการฝึกปฏิบัตินำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 11 กลุ่ม 4 จังหวัด ได้แก่ 1. ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ อำเภอท่าชนะ 2. ธนาคารปูม้าบ้านหาดทรายแก้ว อำเภอไชยา 3. ธนาคารปูม้าบ้านใต้ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4. ธนาคารปูม้า บ้านตะโละใส อำเภอละงู  5. ธนาคารปูม้าบ้านขอนคลาน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 6. ธนาคารปูม้าบ้านตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง 7. ธนาคารปูม้าบ้านเกาะเพชร อำเภอหัวไทร 8. ธนาคารปูม้าบ้านชายทะเลหัวถนน อำเภอปากพนัง 9. ธนาคารปูม้าบ้านปากพญา อำเภอเมือง 10. ธนาคารปูม้าบ้านเกาะลอย อำเภอสิชล 11. ธนาคารปูม้าและประมงชายฝั่ง บ้านในถุ้ง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการพัฒนาทักษะชาวประมงและผู้ประกอบการสำหรับการบริหารธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน
          โดยการบริการถ่ายทอดองค์ความรู้ในครั้งนี้มีกรอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจทางการเกษตรในภาคปฏิบัติในครั้งนี้ประกอบไปด้วยกิจกรรมเรียนรู้การเพาะลูกปูม้าระยะ First crab โดย ดร.สิริวรรณ หนูเซ่ง กรมประมงวากร คำจุน สถาบันซัคเซสไอเดีย ดร. กิจกรรมการถอดและสร้างอัตลักษณ์สินค้าประมงชายฝั่งเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดีและดร.สุขุมาล กล่ำแสงใส สำนักวิชาการจัดการ และการแบ่งกลุ่มเพื่อเรียนรู้ทักษะทักษะภาคปฏิบัติ และให้คำปรึกษาเชิงลึก จำนวน 3 ฐานได้แก่ 1. ฐานเรียนรู้ การจัดทำบัญชีเบื้องต้น โดย ดร.กนกวรรณ มีสุข สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน 2. ฐานเรียนรู้ การสร้างแบรนด์การออกแบบผลิตภัณฑ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญา กฤษณะพันธ์ สำนักสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และ 3. ฐานเรียนรู้ เทคนิคการจัดทำตลาดออนไลน์ โดย อาจารย์ติวากร คำจุน สถาบันซัคเซสไอเดียโดยโครงการนี้ทำให้เกิดหลักสูตร Reskills/Upskills ชาวประมงมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning ตามนโยบายของรัฐบาล เพิ่มทักษะให้กับชาวประมงในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และมีบุคคลที่มีความรู้มากขึ้น รวมทั้งกิจกรรมยังมีการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำการประมงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องบนพื้นฐานการฟื้นฟู และความยั่งยืนของทรัพยากรตามมาตรฐานสากล และนำมาสู่การสร้างจุดขายของสินค้าประมงชายฝั่งที่เป็นสินค้าที่มีมาตรฐานและเป็นผลผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และกลุ่มผู้ประกอบการ หรือครัวเรือนชุมชนรากหญ้ามีความเข้าใจแผนธุรกิจมากขึ้นตามอัตลักษณ์ของชุมชน หรืออัตลักษณ์ของบุคคล นำมาสู่การสร้างการตลาดแบบออนไลน์ ซึ่งจะทำให้สินค้าประมงสามารถเพิ่มมูลค่าได้ และขายได้จำนวนมากขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมภาคปฏิบัติการทั้งหมด kdmyh’้เข้าร่วมอบรมรจัดทำตลาดออนไลน์บัติ และให้คำปรึกษาเชิงลึก จำนวน ่ปูม้าไข่นอกกระดองโดยใช้มือ ในกรณีที่แม่ปูม้าตายเ110 คน นับเป็นความสำเร็จอย่างยิ่ง

จำนวนคนดู: 25