ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัลหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น 2 ปีซ้อน จาก สป.อว.
คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัลหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น 2 ปีซ้อน จาก สป.อว.
คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ คว้ารางวัลหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น 2 ปีซ้อน จาก สป.อว.

          วันที่ 14-15 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และ ผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้ารับรางวัลหน่วยงานที่มีผลงานดีเด่น 2 ปีซ้อน จากหัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ในพิธีมอบโล่และประกาศเกียรติคุณหน่วยงานขับเคลื่อน “การพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม” ภายใต้โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เครือข่าย อว. เพื่อพัฒนาศักยภาพจังหวัด ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 ภายในงาน TechnoMart 2023 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี และทางออนไลน์ Zoom Cloud Meeting ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ โดย ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สป.อว. ศูนย์ประสานงานกระทรวง อว. ส่วนภูมิภาค (ภาคใต้) หน่วยปฏิบัติการ อว.ส่วนหน้า จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับคลินิกเทคโนโลยีเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ณ ห้องประชุม 3 อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำเสนอผลการดำเนินงาน พร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สาขาต่างๆ รวมทั้งผู้แทนเกษตรกรที่ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมมาร่วมรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับคำชื่นชมด้านการบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้แทนเกษตรกรเครือข่ายอำเภอชะอวด ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริระดับจังหวัด ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ประสานงานในคลินิกเทคโนโลยี ที่นำวิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน/สังคม
            ในปีงบประมาณ 2566 ผู้เชี่ยวชาญคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ หลาหลายสาขา ร่วมดำเนินบริการให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร/เครือข่ายชุมชนที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างต่อเนื่อง เช่น
     -เทคโนโลยีการขยายชีวภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน” (การขยายเชื้อราไตรโคเดอร์มา เมธาไรเซียม บิวเวอร์เรีย เพื่อควบคุมโรคพืชและศัตรูพืช การใช้ประโยชน์จากสารชีวภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ การบริการให้คำปรึกษาด้านโรคพืชรายบุคคล) (SDG2) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วาริน อินทนา และคณะ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
     – เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านการแปรรรูปอาหาร (SDG2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทนง เอี่ยวศิริ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
     -เทคโนโลยีการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (การอ่านค่าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความรู้ทางการยศาสตร์ในเกษตรกรเพื่อเตรียมการประเมินสุขภาพ) (SDG3) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพัฒน์ นาวารัตน์ และคณะ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์
     -เทคโนโลยีการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (การนวดเพื่อสุขภาพโดยใช้สมุนไพรในชุมชนวังอ่าง การพัฒนาสมุนไพรในชุมชนวังอ่างเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ) (SDG3) โดย อาจารย์ ดร.ธนา จักษ์เมธา แ ละอาจารย์พิริยา ชนสุต สำนักวิชาแพทยศาสตร์
           ทั้งนี้ คลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอขอบพระคุณ คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ผู้แทนนักศึกษา ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ ที่ร่วมดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง

 

จำนวนคนดู: 28