ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

          เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566 นำโดย อาจารย์ ดร. นิษฐิดา สุดใหม่  และ ผศ.นลินี ทินนาม อาจารย์สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน  คณะทำงานโครงการการเงินและบัญชีเพื่อชุมชน ร่วมกับคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้โครงการวิชาการรับใช้สังคม (Social Engagement) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้นำนักศึกษาใน(รายวิชา BMF 64311 การหาทุนสำหรับผู้ประกอบการ) สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการธุรกิจการเงินดิจิทัล) สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน จำนวน 31 คน ลงพื้นที่ร่วมกับผู้แทนจากเทศบาลตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช นายธนากร ธราพรสกุลวงศ์ มีการบรูณาการความร่วมมือด้านการเรียนการสอน เสริมความรู้  เรื่อง “การบริหารต้นทุนแบบมือโปร” ให้กับผู้ประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
          ทีมนักศึกษาได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (Deep interview) วัตถุประสงค์การศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาถึงบริบทและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) เพื่อศึกษาถึงปัญหาในการพัฒนาการจัดการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อศึกษาหลักการและวิธีการจัดการที่ดีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4) เพื่อให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้งหมด 4 กลุ่ม  ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้  1. ประธานวิสาหกิจชุมชนหนานตาทองฟาร์ม (นายเกรียงศักดิ์ ชูประสูตร) 2. ประธานวิสาหกิจชุมชนไตปลาแห้งครัวคุณตาบ้านพรุชนเหนือ (นางเพลินตา อินริสพงศ์) 3) ประธานวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมพื้นบ้านไม้กวาดดอกหญ้า (นางจินดา ชูประสูตร) และ 4) ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสวนจันทร์ศรี (นางทิพย์วิภา อิทธิกุลเสฏฐ์) ให้การสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบต้นทุนการผลิต กําหนดราคาขายที่เหมาะสม เพื่อหาแนวทางในการบริหารต้นทุนและการวางแผนกําไรให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว ตลอดถึงการร่วมแลกเปลี่ยนถ่ายทอดผลประกอบการที่ผ่านมาในการยกระดับทักษะด้วยนวัตกรรม (Up-skill) และเพิ่มทักษะองค์ความรู้ใหม่ (New skill) สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ หวังสร้างรายได้สร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน พึ่งพาตัวเองได้
          และการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณในความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้ง 4 กลุ่ม และจากเทศบาลตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี  จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้แบบบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ในส่วนของผู้บริหารนายกเทศมนตรีตำบลพรหมโลก “นายรังสิต เฉลิมวรรณ” ที่มอบหมาย“นายธนากร ธราพรสกุลวงศ์”  ดำเนินการอำนวยความสะดวกและร่วมให้ความรู้ตลอดเส้นทางการลงพื้นที่ ในการดำเนินโครงการ ครั้งนี้

 

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ บูรณาการด้านการเรียนการสอน สู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
จำนวนคนดู: 32