ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยโครงการวิทยาลัยสัตว์แพทยศาสตร์อัครราชกุมารีสู่ชุมชน จัดอบรม "การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสุกรเบื้องต้นและเทคนิคการผสมเทียมสุกร" เพื่อความยั่งยืนและการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยโครงการวิทยาลัยสัตว์แพทยศาสตร์อัครราชกุมารีสู่ชุมชน จัดอบรม "การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสุกรเบื้องต้นและเทคนิคการผสมเทียมสุกร" เพื่อความยั่งยืนและการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยโครงการวิทยาลัยสัตว์แพทยศาสตร์อัครราชกุมารีสู่ชุมชน จัดอบรม "การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสุกรเบื้องต้นและเทคนิคการผสมเทียมสุกร" เพื่อความยั่งยืนและการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

          เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จัดโครงการบริการวิชาการให้กับกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสุกร ในหัวข้อ “การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสุกรเบื้องต้นและเทคนิคการผสมเทียมสุกร”เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการวิชาการรับใช้สังคม (WU-Social Engagement) อย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการวิทยาลัยสัตว์แพทยศาสตร์อัครราชกุมารีสู่ชุมชน(โครงการพัฒนาการจัดการสุขภาพสุกร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา) และโครงการพัฒนาระบบการผลิตและการจัดการสุกรที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เพื่ออาชีพที่มั่นคง ปีที่ 4 นำโดย อาจารย์ สพ.ญ. รัชฎาพร บริพันธ์ุ อาจารย์ประจำวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี ร่วมกับ อาจารย์ ดร. กฤติกา กาบพลอย อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารและคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากนักศึกษาและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสุกรเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยกิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชา VET61-446 และ  VET61-574 คลินิกเวชศาสตร์การผลิตและสุขภาพสุกร (Swine Health and Production Medicine) และรายวิชา AGI63-337 นวัตกรรมการผลิตสุกร
          ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาและผู้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงสุกรบริเวณชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยฯ ได้พัฒนามีความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีเรื่องระบบการผลิตและการจัดการสุกรอย่างมีคุณภาพ ร่วมทั้งมีศักยภาพด้านเทคโนโลยีเรื่องระบบการจัดการสืบพันธุ์ในสุกร หลักการผสมเทียมในสุกร สามารถนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายข้อที่ 1 (NO POVERTY) ขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ทุกที่ เป้าหมายข้อที่ 2 (ZERO HUNGER) ขจัดความหิวโหย บรรลุเป้าความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการที่ดีขึ้น และส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนและเป้าหมายข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยโครงการวิทยาลัยสัตว์แพทยศาสตร์อัครราชกุมารีสู่ชุมชน จัดอบรม "การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสุกรเบื้องต้นและเทคนิคการผสมเทียมสุกร" เพื่อความยั่งยืนและการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์
จำนวนคนดู: 18