ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่บริการวิชาการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ร่วมกับกลุ่มแปรรูปอาหารทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่บริการวิชาการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ร่วมกับกลุ่มแปรรูปอาหารทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่บริการวิชาการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ร่วมกับกลุ่มแปรรูปอาหารทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้โครงการการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์และสื่อประชาสัมพันธ์ บรูณาการร่วมกับโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพการแปรรูปอาหารทะเลอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ อาจารย์ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป ]’าและการศึกษาทั่วไป66 เวลา 10.00 น.-่วม สู่ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและยกระดับเศรษกิจชุมชนในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลางได้ลงพื้นที่ยังกลุ่มผู้ประกอบอาชีพแปรรูปอาหารทะเล ในกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 12 กลุ่ม โดยพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีวัตถุดิบหลากหลายและโดดเด่นในแต่ละพื้นที่ จากการทำงานทำให้เกิดผลกระทบทางบวกและสร้างการเปลี่ยนแปลงกับสังคมชุมชน ในการยกระดับคุณภาพชีวิตในมิติอาชีพ เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ และมีมาตรฐานการแปรรูปอาหารที่ปลอดภัยช่วยยืดอายุอาหารและคุณภาพของอาหาร ทำให้สามารถบริโภคได้ง่ายขึ้นและมีฐานผู้บริโภคได้มากขึ้น จนสามารถยกระดับต่อยอดการสร้างรายได้ ต่อยอดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สร้างความยั่งยืนของอาชีพ เพิ่มจุดเด่นเพื่อการแข่งขัน เพิ่มยอดขาย นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยการสร้างแบรนด์ (Branding) หรือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า ทำให้ตลาดรู้จักสินค้าของผู้ผลิต และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นหรือสร้างสรรค์ ทั้งพัฒนาตราสินค้า ฉลาก บรรจุภัณฑ์
          ในการบริการวิชารับใช้สังคมในครั้งนี้ มีขอบเขตของการดำเนินงานเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านตราสินค้าเพื่อการจดทะเบียนแนะนำให้กลุ่มมีการปรับเปลี่ยนชื่อ และพัฒนาตราสินค้า ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจดทะเบียน และเหมาะสมกับการผลิตบรรจุภัณฑ์ 2.ด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการยืดอายุ ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมและยืดอายุการขาย (Delivery ออกงานแสดงสินค้า ขายปลีก Online ฯ) 3. ด้านส่งเสริมการขายและช่องทางการตลาด ความต้องการด้านบรรจุภัณฑ์ขนส่ง ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยในการขนส่ง ลดความเสียหายและเป็นที่จดจำ (เน้นการบรรจุห้องเย็นและแช่แข็ง) เพื่อสร้าง Stories ของสินค้าประมง และปรับปรุงชื่อ แบรนด์ และบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้อง ซึ่งได้รับข้อมูลครบถ้วน และถึงตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามมาตรฐานและความต้องการของชุมชน นอกจากนี้คณะทำงานได้ดำเนินการเพิ่มรายการสินค้าประมงชายฝั่งใน Application LayKhon รวมทั้งการถ่ายภาพเพื่อประกอบการสร้างความสนใจในสินค้าประมงแปรรูปของชาวประมงพื้นบ้าน  ให้ชุมชนประมงชายฝั่งฐานรากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานยกระดับสินค้าอาหารทะเลทั้งสดและแปรรูปอันส่งผลใหเป็นต้นแบบการดำเนินโครงการในพื้นที่ตัวอย่าง และสมารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนชายฝั่งทั้งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียง ช่องทางการตลาดออนไลน์จะเป็นเครื่องมือในการรวบรวมสินค้าชุมชนประมงประเภทอื่น ๆ เข้ามาอยู่ในช่องทางการตลาดผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น และกิจกรรมจะยกระดับมาตรฐานสินค้าประมงทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจยิ่งขึ้น และจะทำให้รายได้จากการจำหน่ายสินค้าประมงของจังหวัดในภาพรวมจะสูงขึ้น

จำนวนคนดู: 13