ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมขับเคลื่อนการออกแบบผังโรงเรือนเพื่อรับรองมาตรฐาน อย.และ ฮาลาลเพื่อยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้โครงการการออกแบบผังโรงเรือนเพื่อเตรียมขอเครื่องหมายรับรองอย. และฮาลาล สำหรับเป็นแนวทางในการออกแบบโรงเรือนให้แก่ผู้ประกอบการในการเตรียมเอกสารเพื่อการขอรับมาตรฐาน อย. และฮาลาล บรูณาการร่วมกับโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพการแปรรูปอาหารทะเลอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับอาจารย์ฮุชเซ็น นิยมเดชา สำนักวิชาการจัดการ เเละ อาจารย์สุชาติ ฉันสำราญ สำนักวิชาการบัญชีและการเงินโดยลงพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 6 กลุ่ม เพื่อสำรวจ ค้นหาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีการผลิตในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งศึกษาสภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิตของชุมชน การประกอบอาชีพ ปัญหาที่ชุมชนต้องการได้รับการแก้ไข เพื่อให้เข้าใจบริบทของชุมชนเป็นการเบื้องต้น  โดยการดำเนินการตามโครงการนี้ จะเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอาหารและยา (อย.) หรือการได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ทราบถึงสินค้าที่ชุมชนมีอยู่ แล้วจึงดำเนินการคัดเลือกสินค้าที่มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานต่อไป เตรียมความพร้อมทีมวิจัย โดยการประชุมหาแนวทางการทำงานร่วมกันและให้ความรู้กับทีมงานเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องนำไปใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ได้มาตรฐาน อย. หรือฮาลาล ซึ่งเป็นปัญหาหลักของผลิตภัณฑ์ชุมชนคือเรื่องของมาตรฐานหรือการรับรองผลิตภัณฑ์  ถึงแม้ว่าสินค้าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ แต่ถ้าการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะจำหน่ายสินค้าได้ในขอบเขตที่จำกัดเท่านั้น แต่การรับรองคุณภาพในระดับต่าง ๆ มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับว่าจะเป็นมาตรฐานระดับใด การยกระดับสินค้าชุมชน จะสามารถช่วยผู้ประกอบการในชุมชนที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว ให้มีมาตรฐานที่สังคมยอมรับ สามารถแข่งขันได้ และสามารถยกระดับให้ธุรกิจระดับชุมชนมีความมั่นคง สามารถที่จะพัฒนาตนเติบโต ก้าวหน้าต่อไปในอนาคตได้
          ดังนั้นโครงการการออกแบบผังโรงเรือนเพื่อเตรียมขอเครื่องหมายรับรองอย. และมาตรฐานฮาลาล จึงมีเป้าหมายการออกแบบโรงเรือนให้แก่ผู้ประกอบการในการเตรียมเอกสารเพื่อการขอรับมาตรฐาน อย.  และฮาลาลต่อไป มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักในเรื่องกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานที่เชื่อมโยงสู่ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และการเลือกวัตถุดิบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ใช้สัตว์น้ำขนาดเล็กที่ยังไม่ผ่านวัยเจริญพันธ์เป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติจริงซึ่งจะช่วยให้ชาวประมงสามารถจดจำการนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตอาหารอย่างปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ สร้างความแตกต่างและความโดดเด่น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปมากยิ่งขึ้น

ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
จำนวนคนดู: 32