ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่บริการวิชาการแนะนำการเตรียมเอกสารรับรองมาตรฐาน อย. และฮาลาล เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป ให้ผู้ประกอบการ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้โครงการกระบวนการและเอกสารในการเตรียมขอเครื่องหมายรับรองอย.และฮาลาล บรูณาการร่วมกับโครงการพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพการแปรรูปอาหารทะเลอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประมงพื้นบ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ร่วมกับอาจารย์ฮุชเซ็น นิยมเดชา สำนักวิชาการจัดการ เเละอาจารย์สุชาติ ฉันสำราญ สำนักวิชาการบัญชีและการเงิน ประชุมวางแผนการลงพื้นที่เพื่อบริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการทำผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป เป้าหมาย จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านเกาะเพชร (รอยยิ้มชาวเล) 2.กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำท่าพยา (น้ำพริกพร้อมทาน TAYA) 3.กลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำแหลมตะลุมพุก 4.กลุ่มแปรรูปปลากุเลาเค็มนายหาญ  5.กลุ่มอาหารทะเลแปรรูป ความสุขชาวเล  6.แพปูม้าเพชรปิยะ
          โดยคณะทำงานลงพื้นที่เป้าหมายโดยนำโดยผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านการจัดการกระบวนการผลิตการวางผังโรงงาน ระบบมาตรฐาน HALAL สำรวจและวางแผนดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสำหรับการเตรียมให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนมุ่งไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ทั้งที่เป็น มาตรฐานอาหารและยา (อย.) และมาตรฐานฮาลาล โดยการให้ความรู้ด้านของการเตรียมความพร้อมเพื่อขอรับรอง ได้แก่ การขออนุญาตสถานที่ผลิต และการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ รวมทั้งเอกสารและขั้นตอนการขอ อย. และฮาลาล เป็นต้น ทั้งนี้ยังได้ให้คำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารและการจัดเตรียมสมาชิกกลุ่มเพื่อจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนหรือกลุ่มที่ยังไม่ได้ริเริ่มการจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจ
          นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กับการขับเคลื่อนเครื่องหมายฮาลาล โดย สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาการจัดการ และ ศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช บูรณาการด้านการเรียนการสอนนำนักศึกษาเพื่อร่วมกิจกรรมอบรม หัวข้อมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กับการขับเคลื่อนเครื่องหมายฮาลาลและกระบวนการยื่นขอรับรองเครื่องหมายฮาลาล ในงาน“มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ประจำปี 2566 (Regional Research Expo 2023)” ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 28 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ เวที Highlight Stage (ลานจอดรถระหว่างอาคารเรียนรวม 5 และ 7) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

จำนวนคนดู: 14