ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับ โรงเรียนชุมชนใหม่ และภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนโรงเรียนชุมชนใหม่ ผ่านการประเมินศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2566

          เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 โรงเรียนชุมชนใหม่รับการประเมินศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2566 ซึ่งกิจกรรมการประเมิน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การนำเสนอผลการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ด้าน 8 องค์ประกอบ ส่วนที่ 2 การจัดนิทรรศการฐานการเรียนรู้ของโรงเรียน 14 ฐาน ซึ่งจัดแสดงไว้ในห้องประชุมแห่งนี้ ฐานศาสตร์พระราชาจัดแสดงไว้ที่อาคารสุธบรรหาร พงษ์พานิช และฐานการเรียนรู้ตามสภาพจริงในบริเวณโรงเรียน สำหรับนิทรรศการของภาคืเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ จัดแสดงไว้ที่อาคารเอนกประสงค์ ส่วนที่ 3 เอกสารประกอบการประเมินได้จัดไว้ในห้องเกียรติยศ
          ทั้งนี้กิจกรรมการประเมินศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษาดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับโรงเรียนเรียนชุมชนใหม่ และเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเชื่อมโยงการเรียนการสอนของนักเรียน บูรณาการการเรียนรู้นอกห้องเรียนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริตามศาสตร์พระราชาเพื่ออาหารกลางวัน “พัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ ควบคู่หลักสูตรฯ ต้นแบบ” ภายใต้ “โครงการจัดทำหลักสูตรบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนใหม่” และ “โครงการปรับปรุงส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชาเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนชุมชนใหม่” ขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยให้บรรลุเป้าหมายของโครงการที่ตั้งไว้ มีการร่วมจัดทำหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนเกิด (ร่าง) หลักสูตร ฯ ต้นแบบ อันจะต้องนำไปพัฒนาต่อยอด นักเรียนได้รับความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปต่อยอดประกอบเป็นอาชีพของตนเองเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้ และโรงเรียนมีวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน ตลอดจนได้ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ฯ ให้มีฐานการเรียนรู้สอดคล้องกับการเรียนการสอนหลักสูตรฯ โดยเน้นดำเนินการ “ต่อยอด ขยายผล” เพื่อให้พื้นที่/กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงทางที่ดีขึ้น มีการจัดทำ “โครงการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนชุมชนใหม่และโรงเรียนพื้นที่ชุมชนรายรอบ” มีการออกแบบสื่อการสอนแบบออนไลน์ โดยจัดทำในรูปแบบ 2D animation จำนวน 12 บทเรียน สามารถนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 4 (Quality education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ข้อที่ 2 (Zero Hunger) ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย     
          จากการประเมินศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2566 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และหน่วยงานภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน อาธิเช่น องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี เกษตรอำเภอท่าศาลา เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา และโรงเรียนต่างๆ ร่วมจัดนิทรรศการฐานการเรียนรู้ แสดงให้เห็นว่าโรงเรียนชุมชนใหม่มีภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง เป็นผลสืบเนื่องให้โรงเรียนชุมชนใหม่ ผ่านการประเมินศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2566 เหมาะกับการเป็นต้นแบบของโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป

จำนวนคนดู: 56