ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ขอแสดงความยินดีกับงานบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านบริการวิชาการ ได้รับ 6 คะแนน สำหรับปีการศึกษา 2565

          ศูนย์บริการวิชาการ เป็นศูนย์กลางดำเนินงานและประสานงานบริการวิชาการ และวิชาการรับใช้สังคม โดยทำงานเชื่อมโยงกับสำนักวิชา ศูนย์ความเป็นเลิศ และหน่วยงานอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อขับเคลื่อนงานยกระดับผลกระทบของการประยุกต์ใช้วิชาการจากมหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งแก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมตามความต้องการของผู้รับบริการ โดยดำเนินงานบริการวิชาการตามแบบจำลองต้นไม้แห่งความสุข มวล. ซึ่ง ครอบคลุมการยกระดับคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม 5 มิติ กล่าวคือ ด้านอาชีพ การศึกษา สุขภาพ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสังคมและวัฒนธรรม (WU Happy Tree Model) ศูนย์บริการวิชาการได้รายงานผลงาน ภารกิจด้านการบริการวิชาการ (U1.3.9)  ที่แสดงให้เห็นกรอบการดำเนินงานที่มุ่งสร้างผลกระทบในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศ และรวมถึงงานบริการวิชาการที่ผลการดำเนินงานตามแนวทาง SDG เพื่อสร้างผลกระทบของโครงการต่อชุมชน และเพื่อผลการประเมินยกระดับอันดับโลก Impact Ranking
          ทั้งนี้ ปีนี้เป็นปีแรกที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้นำเกณฑ์ระดับสากล AUN-QA (ASEAN University Network Quality Assurance) หรือเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน ที่มีเกณฑ์การให้คะแนน 7 ระดับ มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประกันคุณภาพภายในตามระบบ WUQA-U ผลปรากฏว่า ในปีการศึกษา 2565  ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ด้านบริการวิชาการ ได้รับ 6 คะแนน ซึ่งหมายถึงการบริการวิชาการอยู่ในระดับต้นแบบของประเทศ

จำนวนคนดู: 11