ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

รางวัลแห่งความภูมิใจ ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์พื้นที่เรียนรู้ SDGs รุ่นที่ 1

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขอแสดงความยินดีกับศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ ตำบลวัง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี เป็นหัวหน้าโครงการธนาคารปูม้า ได้รับโล่ “ธนาคารปูม้าเพื่อความยั่งยืน บ้านหาดสมบูรณ์” เป็นชุมชนต้นแบบพื้นที่เรียนรู้ SDGs รุ่นที่ 1 จากพื้นที่ 1 ใน 5 พื้นที่เป้าหมายจากทั่วประเทศ  จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนเพื่อ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ของประเทศไทย พศ. 2566 จัดโดย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ ชั้น 4 โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการ และคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

S__87048195

          โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ ภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยรวมทั้งเป็นการสร้างตวามตระถึง SDGs และร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงาน SDGs ของประเทศไทยในอนาคต เป็นกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับพื้นที่ (SDGs Localization) เพื่อสื่อสารความรู้ไปสู่นโยบายอย่างมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย มุ่งเน้นรูปแบบการทำงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในระดับพื้นที่ ตามแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (Thailand SDGs Roadmap) รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ทั้งในระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือ เสริมสร้างการมีส่วนร่วม เปิดรับความแตกต่าง และรับฟังความคิดเห็นจากพื้นที่ โดยการสร้างความตระหนักรู้ซึ่งไม่เพียงการทำให้ประชาชนทราบถึงการมีอยู่ของ SDGs เท่านั้น ยังรวมทั้งการเสริมพลังให้มีส่วนร่วมกับกระบวนการบรรลุเป้าหมาย SDGs ด้วย
          ภายในงานยังมีการเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อการขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย”พื้นที่เรียนรู้ SDGs รุ่นที่ 1  ” ธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ การอนุรักษ์และส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล จากความร่วมมือของชุมชนและการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน โดยปัญหาที่ชุมชนหาดสมบูรณ์พบเจอไม่ต่างจากชุมชนประมงชายฝั่งพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ การรุกล้ำพื้นที่ชายฝั่งและกวาดจับสัตว์น้ำเกินกำลังของประมงพาณิชย์ ส่งผลให้ประมงในแถบถิ่นนี้เสื่อมโทรม หาอยู่หากินลำบาก จากคนไม่ยอมจำนวนเหล่านี้กลับไม่ทดท้อมองหาทางรอดทางเลือกในการสร้างความยั่งยืนให้กับชีวิตและชุมชน โอกาสจากการได้รับความรู้ทางวิชาการอาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์     ปูม้าและระยะที่เหมาะสมสำหรับการปล่อยลูกปูม้าคืนสู่ทะเลโดยมีการทำวิจัยเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากภาคส่วนต่าง ๆ จึงได้มีการจัดตั้งธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ขึ้น จนถึงวันนี้ด้วยจำนวนปูที่เพิ่มขึ้นชัดเจนเป็นสิ่งยืนยันว่าธนาคารปูม้า ความสามัคคี และความตระหนักร่วมกันของคนในชุมชน นำมาสู่ความยั่งยืนของทรัพยากรในท้องทะเล และความมั่นคงของอาหาร และความเข้มแข็งของเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทาง SDG การรักษาไว้ซึ่งความยั่งยืนของทรัพยากรและการสร้างรายได้ที่มั่นคง รวมทั้งยกระดับอาชีพของชุมชนฐานรากดังชื่อธนาคารปูม้าบ้านหาดสมบูรณ์ต่อไป

ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ข้อที่ 2 Zero Hunger (ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน)  และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)

จำนวนคนดู: 42