ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้โครงการ การพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช บูรณาการกับการเรียนการสอนนักศึกษารายวิชา THB60-312 (การวางแผนและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว) นำโดย รศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม สำนักวิชาการจัดการ ลงพื้นที่บริการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ และศึกษาศักยภาพของพื้นที่ที่คัดเลือกนำร่องจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประจักษ์เชื่อมโยงกับการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ พื้นชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านปากพญา กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านปากน้ำปากพูน กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านแหลมโฮมสเตย์ และศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายบ้านในถุ้ง เพื่อร่วมวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่งนำร่องที่สามารถเชื่อมโยงเรื่องการลดการใช้คาร์บอน โดยต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงวิถีที่มีอยู่เดิมเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้ชาวประมงและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำตามเป้าหมายของรัฐบาล
         โดยการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ หรือ Low Carbon Tourism ท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จัดเป็นโปรแกรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนให้กับชุมชนในท้องถิ่น มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และลดก๊าซคาร์บอน เช่น การเลือกยานพาหนะในการเดินทาง การทำกิจกรรมท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมปลูกป่า การเก็บขยะ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ผสมผสานแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวแบบมีความรับผิดชอบไว้ด้วยกัน สำหรับการเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ สามารถเที่ยวแบบง่ายๆ ด้วยการวางแผนเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก การเลือกยานพาหนะโดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงาน การเลือกใช้จักรยาน หรือเรือระบบโซล่าเซลล์ ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน ลดปัญหาขยะ หรือที่พักที่มีระบบการจัดการเอื้อต่อธรรมชาติ การเลือกรับประทานอาหารที่เน้นการใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่น เน้นการท่องเที่ยวประเภทอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ส่งเสริมการลดการปลดปล่อยคาร์บอน เช่น กิจกรรมปลูกป่าชายเลน การเก็บขยะ เส้นทางศึกษาธรรมชาติ เป็นต้น
          ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ข้อที่ 13 Climate Action (ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น) และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)

 

ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ม.วลัยลักษณ์ พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวแบบ “Low Carbon Tourism” พื้นที่ชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช
จำนวนคนดู: 22