ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการระดับชาติ โดยกรมประมง เข้าร่วมวางแผนการจัดการประมงอย่างยั่งยืน
ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการระดับชาติ โดยกรมประมง เข้าร่วมวางแผนการจัดการประมงอย่างยั่งยืน
ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการระดับชาติ โดยกรมประมง เข้าร่วมวางแผนการจัดการประมงอย่างยั่งยืน

          วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี นักวิจัย อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการแต่งตั้งจากกรมประมง ให้เป็นคณะกรรมการวิชาการในการประเมินผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน และกำหนดจุดอ้างอิงที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ พ.ศ. 2567 ตามคำสั่งกรมประมง ที่ 73/2567 แต่งตั้ง คณะกรรมการวิชาการในการประเมินผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืน และกำหนดจุดอ้างอิงที่เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 ปฏิบัติหน้าที่ 1.พิจารณากลั่นกรองผลการประเมินค่าผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำไทยและเสนอแนวทางการกำหนดปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมดที่อนุญาตให้ทำการประมงได้ 2. เสนอแนะจุดอ้างอิงของทรัพยากร เพื่อเป็นทางเลือกที่เหมะสมกับสภาวะทรัพยากร และการประมงของไทย 3. เสนอแนะแนวทางวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการประมงทั้งระบบ  4.ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการวิชาการในการประเมินผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนและกำหนดจุดอ้างอิงที่เหมาะสมในการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ พ.ศ. 2567 ผ่านระบบประชุมทางไกล (Zoom) เพื่อร่วมวิเคราะห์และวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน รวมทั้งร่วมให้ข้อเสนอนะประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดห้วงเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตการทำประมงพาณิชย์ ปีการประมง 2567-2568 สภาวะทรัพยากรสัตว์น้ำ พ.ศ.2558-2566 ร่วมพิจารณาข้อมูลปริมาณการจับสัตว์น้ำและการลงแรงประมงเพื่อประเมินผลผลิตสูงสุดที่ยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำ (Maximum Sustainable Yield : MSY) แบบกลุ่มสัตว์น้ำ ทั้งจากการทำประมงพาณิชย์ และการทำการประมงพื้นบ้าน และปริมาณสัตว์น้ำที่จะอนุญาตให้ทำการประมงได้ (total allowable catch:TAC) รวมทั้งร่วมประชุมให้ข้อคิดเห็นแนวทางและหลักเกณฑ์การจัดสรรใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ รอบปีการประมง 2567 – 2567 ทั้งนี้ ผศ.ดร. อมรศักดิ์ สวัสดี อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างต่อเนื่องและได้รับการแต่งตั้งจากกรมประมงทำงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา เพื่อตอบโจทย์การบริการวิชาการตามกรอบการพัฒนาที่ยังยืนโดยเฉพาะ SDG ข้อที่ 14 ความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ (Life Below Water)

 

ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการระดับชาติ โดยกรมประมง เข้าร่วมวางแผนการจัดการประมงอย่างยั่งยืน
ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการระดับชาติ โดยกรมประมง เข้าร่วมวางแผนการจัดการประมงอย่างยั่งยืน
ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการระดับชาติ โดยกรมประมง เข้าร่วมวางแผนการจัดการประมงอย่างยั่งยืน
ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวิชาการระดับชาติ โดยกรมประมง เข้าร่วมวางแผนการจัดการประมงอย่างยั่งยืน
จำนวนคนดู: 9