ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ตามหลัก Recreation Opportunity Spectrum (ROS)
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับมูลนิธินโยบายสารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล มูลนิธิหอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการบริหารวัดในพระพุทธศาสนาตามหลักธรรมาภิบาลในระยะที่ 1 และหารือเพื่อวางแผนงานโครงการฯในระยะที่ 2
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับมูลนิธินโยบายสารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล มูลนิธิหอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการบริหารวัดในพระพุทธศาสนาตามหลักธรรมาภิบาลในระยะที่ 1 และหารือเพื่อวางแผนงานโครงการฯในระยะที่ 2

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่ขับเคลื่อนงานพันธกิจสัมพันธ์กับสังคม (Social engagement) ภายใต้โครงการการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช บูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนนักศึกษารายวิชา THB60-312 (การวางแผนและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว) นำโดย รศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม สำนักวิชาการจัดการ   นำนักศึกษาลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยว โดยรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวิเคราะห์ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว ตามหลักเกณฑ์ของ Recreation Opportunity Spectrum (ROS)    พื้นชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4 พื้นที่ ประกอบด้วย กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านปากพญา กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านปากน้ำปากพูน กลุ่มธนาคารปูม้าบ้านแหลมโฮมสเตย์ และศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าและประมงชายบ้านในถุ้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจำแนกเขตท่องเที่ยวตามหลักช่วงชั้นโอกาสนันทนาการ ให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยการเดินทางและการเข้าถึง (Accessibility) ความเป็นธรรมชาติและการพัฒนาพื้นที่ ระดับการพึ่งพาตัวเอง และระดับการควบคุมนักท่องเที่ยว/ควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ เพื่อวางแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนชายฝั่ง โดยนำข้อมูลในส่วนนี้มาใช้ประกอบวิเคราะห์สถานภาพการณ์ของพื้นที่ ต่อยอดการท่องเที่ยวเชิงวิถีที่มีอยู่เดิมเชื่อมโยงสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่  

          โดยโครงการการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในพื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นการบริหารจัดการที่นำไปสู่การท่องเที่ยวที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และลดการเกิดก๊าซคาร์บอนในพื้นที่ มีรูปแบบการท่องเที่ยวแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  การท่องเที่ยวอนุรักษ์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวแบบมีความรับผิดชอบเข้าไว้ด้วยกัน   ซึ่งการจัดการแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ เป็นส่วนหนึ่งการจัดการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุลทั้ง 3 ด้าน คือทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน และกระจายผลประโยชน์สู่ชุมชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่มีคุณภาพ   ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว

          สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)    ข้อที่ 13 Climate Action (ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบที่เกิดขึ้น) และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)

ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ตามหลัก Recreation Opportunity Spectrum (ROS)
ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ตามหลัก Recreation Opportunity Spectrum (ROS)
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับมูลนิธินโยบายสารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล มูลนิธิหอจดหมายเหตุ พุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพ) ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการบริหารวัดในพระพุทธศาสนาตามหลักธรรมาภิบาลในระยะที่ 1 และหารือเพื่อวางแผนงานโครงการฯในระยะที่ 2
ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ตามหลัก Recreation Opportunity Spectrum (ROS)
ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ตามหลัก Recreation Opportunity Spectrum (ROS)
ม.วลัยลักษณ์ ลงพื้นที่สำรวจและประเมินศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ตามหลัก Recreation Opportunity Spectrum (ROS)
จำนวนคนดู: 9