ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมงาน “Open House” เปิดบ้านพอเพียง ช.ม. ครั้ง ที่ 2โรงเรียนชุมชนใหม่

          วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย อาจารย์ธชมล  กำลังเกื้อ  อาจารย์สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป อาจารย์อนุชสรา เรืองมาก อาจารย์สำนักวิชาครุศาสตร์และศิลปศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัปสร บุญยัง อาจารย์สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมงาน“Open House” เปิดบ้านพอเพียง ช.ม. ครั้งที่ 2 ณ โรงเรียนชุมชนใหม่ การเยี่ยมชมนิทรรศการฐานการเรียนรู้ ตลาดนัดพอเพียง ส่งเสริมทักษะสู่อาชีพ การจำหน่าย อาหารของนักเรียนและชุมชน เยี่ยมชมห้องศาสตร์พระราชา แหล่งเรียนรู้ครบวงจร เยี่ยมฐานการเรียนรู้ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 14 ฐาน และร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนการขยายผลศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่โรงเรียนเครือข่าย ซึ่งมีประเด็นการเสวนา อาทิเช่น การขับเคลื่อนสถานศึกษาแบบอย่างการจัดการเรียนรู้และการบริการจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) การสร้างภาคีเครือข่ายในส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียง รับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา การให้บริการทางวิชาการชุมชม และการส่งเสริมสนับสนุนของศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต่อการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา และการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชาโรงเรียนชุมชนใหม่ และการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ห้องเรียน โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น ให้แก่ผู้ร่วมเสวนา ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนชุมชนใหม่ ตัวแทนโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนบ้านสองแพรกมิตรภาพที่ 92 โรงเรียนวัดดอนใคร โรงเรียนวัดโมคลาน โรงเรียนบ้านขุนทะเล และโรงเรียนบ้านทุ่งชน

        มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมกับโรงเรียนชุมชน ได้ดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนหลักสูตรบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนชุมชนใหม่ และโรงเรียนพื้นที่ชุมชนรายรอบ ปีที่ 5 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 4 (Quality education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

จำนวนคนดู: 19