ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับผู้นำชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ ลงพื้นที่เก็บภาพมุมสูงบริเวณรายรอบฝายมีชีวิต พื้นที่ตำบลนาไม้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

          เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2567 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาไม้ไผ่ และผู้นำชุมชน ลงพื้นที่เก็บภาพมุมสูงบริเวณรายรอบฝายมีชีวิต พื้นที่ตำบลนาไม้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดเตรียมข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบพื้นที่ป่าธรรมชาติบริเวณที่มีการอนุรักษ์น้ำโดยฝายมีชีวิต และพื้นที่ป่าธรรมชาติบริเวณที่ไม่มีฝายมีชีวิต ช่วงฤดูร้อน
          โดยจากการลงพื้นที่ดังกล่าว ข้อมูลจะถูกนำมาวิเคราะห์ใช้เป็นแนวทางสำหรับการดำเนินการ การจัดกิจกรรมพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ และการอนุรักษ์น้ำในพื้นที่  โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการ และการอนุรักษ์น้ำ  มีการสร้างชุมชนต้นแบบที่มีความเข้มแข็ง มีการจัดการน้ำ การจัดการชลประทาน  ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้ำจืด อีกทั้งประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมด้านการจัดการน้ำภายในชุมชนอย่างยั่งยืน  ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์น้ำภายใต้โครงการฝายมีชีวิตเพื่อพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน  ประจำปี 2567 ซึ่งมีอาจารย์สุธีระ ทองขาว เป็นหัวหน้าโครงการ สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 6 (Clean Water and sanitation) การจัดการน้ำและสุขาภิบาล ข้อที่ 14  (Life Below Water) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล และข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

จำนวนคนดู: 12