ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดกิจกรรมโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 31 ภาคบรรยาย รูปแบบออนไลน์

          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายความร่วมมือ สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในการดำเนินโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 31 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทางทะเล กลไกและกระบวนการที่สำคัญ ส่งเสริมการเรียนรู้กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของระบบนิเวศ และการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาดและอย่างยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเล  

 

          การจัดโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ในครั้งนี้ มีนักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการระดับปริญญาตรี 92 คน ปริญญาโท 4 คน และปริญญาเอก 1 คน รวมจำนวน 97 คน จาก 19 มหาวิทยาลัย ครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัดทั่วประเทศ (กรุงเทพ นครปฐม ปทุมธานี ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น หนองคาย มหาสารคาม เชียงใหม่ พิษณุโลก นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ชุมพร พัทลุง)

 

ลำดับ

มหาวิทยาลัย

จำนวนผู้สมัคร (คน)

1

เกษตรศาสตร์

13

2

เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

2

3

ขอนแก่น

3

4

ขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

5

5

เชียงใหม่

3

6

ทักษิณ

1

7

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

1

8

นเรศวร

3

9

บูรพา

4

10

บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

3

11

มหาสารคาม

3

12

มหิดล

3

13

วลัยลักษณ์

39

14

วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล

1

15

สงขลานครินทร์

5

16

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

1

17

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

5

18

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์

1

19

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

1

รวมจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น

97

           ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการ และยืนยันสิทธิ์การเข้าร่วมโครงการ จำนวน 75 คน ประกอบด้วยนักศึกษาระดับ  ปริญญาตรี 71 คน ปริญญาโท 3 คน และปริญญาเอก 1 คน จาก 17 มหาวิทยาลัย ครอบคลุมพื้นที่ 14 จังหวัดทั่วประเทศ (กรุงเทพ นครปฐม ปทุมธานี จันทบุรี ขอนแก่น หนองคาย มหาสารคาม เชียงใหม่ พิษณุโลก นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ชุมพร พัทลุง) 

ลำดับ

มหาวิทยาลัย

จำนวนผู้สมัคร (คน)

1

เกษตรศาสตร์

10

2

ขอนแก่น

2

3

ขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

5

4

เชียงใหม่

3

5

ทักษิณ

1

6

เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

1

7

นเรศวร

2

8

บูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

3

9

มหาสารคาม

3

10

มหิดล

2

11

วลัยลักษณ์

35

12

วิทยาลัยนานาชาติ ม.มหิดล

1

13

สงขลานครินทร์

2

14

สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

1

15

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

2

16

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตอุดมศักดิ์

1

17

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

1

รวมจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น

75

           กิจกรรมที่ผู้เข้ารับการอบรมโครงการค่ายนิเวศวิทยาทางทะเล ครั้งที่ 31 รูปแบบออนไลน์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 21 เมษายน 2567 ประกอบด้วย

1.พิธีเปิดโครงการ วันที่ 23 มีนาคม 2567

          1.1 พิธีเปิด โดยผู้บริหาร ประกอบด้วย

– รศ.ดร.วาริท เจาะจิตต์ รองอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์: กล่าวต้อนรับ

– คุณพรสุรีย์  กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร

  บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด: กล่าวต้อนรับในนามของผู้สนับสนุน

– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ

  ม.วลัยลักษณ์: กล่าวรายงาน

– ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: กล่าวเปิดงาน       

2.การบรรยาย: มีผู้บรรยายจากคณาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญจากทั่วประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 22 หัวข้อ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 20 เมษายน 2567 

ครั้ง

วัน/เวลา

หัวข้อ

วิทยากร

1

วันจันทร์ที่ 25 มี.ค.67

19.00 – 21.00 น.

Introduction to marine ecology

อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ สงวนศิลป์

คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2

 วันอังคาร 26 มี.ค.67

19.00 – 21.00 น.

Effect of ocean properties on marine organisms

ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3

วันพุธที่ 27 มี.ค.67

19.00 – 21.00 น.

Bacterial and their roles in food chain and Nutrient cycling

ผศ.ดร.พักตร์พิมล อึ่งเจริญวิวัฒน์

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

4

วันพฤหัสบดีที่ 28 มี.ค.67

19.00 – 21.00 น.

Mudflat

 

ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ ดรุมาศ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5

วันศุกร์ที่ 29 มี.ค.67

19.00 – 21.00 น.

สัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrates:

 Pieces, Reptiles and Aves)

 

สัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrates: Mammals and Marine mammals

คุณชุมพล คงนคร

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

คุณชินกร ทองไชย

ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

6

วันเสาร์ที่ 30 มี.ค.67

10.00 – 12.00 น.

 

13.00 – 15.00 น.

เทคนิคการปรับแต่งและประยุกต์ภาพถ่ายในงานทางวิทยาศาสตร์

 

Marine restoration and management

คุณสหัส ราชเมืองขวาง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ดร.เพราลัย นุชหมอน

ผู้ทรงคุณวุฒิ

7

วันจันทร์ที่ 1 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Ocean acidification

ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์

ผู้ทรงคุณวุฒิ

8

วันอังคารที่ 2 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Rocky shore

ผศ.ดร.กริ่งผกา วังกุลางกูร

คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

9

วันพฤหัสบดีที่ 4 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Sandy beach

ผศ.ดร.กริ่งผกา วังกุลางกูร

คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10

วันศุกร์ที่ 5 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Invertebrates

อาจารย์ ดร.เอกพจน์ ศรีฟ้า

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

11

วันเสาร์ที่ 6 เม.ย.67

10.00 – 12.00 น

 

 

13.00 – 15.00 น.

Coral reef

 

 

Phytoplanktons

 ดร.ลลิตา ปัจฉิม

สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

 อาจารย์ ดร.วิชญา กันบัว

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยบูรพา

12

วันจันทร์ที่ 8 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Zooplankton

 ผศ.สุภาพร แสงแก้ว

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี

13

วันอังคารที่ 9 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Seagrass/Seaweet

 อาจารย์ ดร.เอกลักษณ์  รัตนโชติ

คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

14

 วันพุธที่ 10 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Shore erosion

 

อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง

คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

15

วันพฤหัสบดีที่ 11 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

การฟื้นฟูทรัพยากรปูม้า ตามาตรฐานสากล

 ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี

ศูนย์บริการวิชาการ

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

16

วันพุธที่ 17 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Marine Microplasstic

 ผศ.ดร.ศุภกาญจน์ จันทร์แดง

Research Institute for Applied Mechanics Center for Ocean Plastic Studies Kyushu University

17

วันพฤหัสบดีที่ 18 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Mangrove

 คุณอาวุธ แก่นเพชร

อุทยานพฤษศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

18

วันศุกร์ที่ 19 เม.ย.67

19.00 – 21.00 น.

Oil spill

 

ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์

คณะวิทยศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19

วันเสาร์ที่ 20 เม.ย.67

10.00 – 12.00 น.

การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล

 ผอ.ทิพามาศ อุปน้อย

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

3.Special Talk จำนวน 1 ครั้ง

          3.1 วันที่ 3 เมษายน 2567 หัวข้อ Marine Environment Servey โดย คุณศรินทร์ ไชยากุล ผู้จัดการสนับสนุนวิชาการ ด้านสุขภาพความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

4.การทำหัวข้อสัมมนา: ผู้เข้าอบรมจะแบ่งกลุ่มเพื่อทำหัวข้อสัมมนา 10 กลุ่มๆ  โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงและให้การปรึกษาแนะนำ (นัดประชุมกลุ่มย่อยรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom meeting) โดยฝึกให้คิดการตั้งโจทย์ปัญหา การค้นคว้าหาข้อมูลตามประเด็นที่สนใจ ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม – 20 เมษายน 2567 และมีการนำเสนอหัวข้อ วันที่ 21 เมษายน 2567

กลุ่ม

ที่ปรึกษา

สังกัด

หัวข้อสัมมนา

1

อาจารย์ชนม์ ภู่สุวรรณ

คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

แนวปะการังถูกคุกคาม ความท้าทายและทางรอด

2

1. นายวัชระ เกษเดช

2. นายณัทธร แก้วภู่

3. นายอภิสิทธิ์ กองพรหม

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

จากตรงนี้ที่ (เคย) สวยงาม

3

อาจารย์ ดร.สืบพงศ์ สงวนศิลป์

คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เขื่อนกันคลื่นมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร

4

ดร.ปรเมศวร์ ตรีวลัยรัตน์

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

รู้ทันสัตว์ทะเลมีพิษ แยกชนิดจากอาการ

5

ดร.กฤติยา ตรีวลัยรัตน์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ปรสิตเป็นได้มากกว่าปรสิต

6

อาจารย์ ดร.เชฏฐพร  สุจิตะพันธ์

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ธรณีสัณฐานวิทยาและการประเมินของตัวบ่งชี้การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในการศึกษาวิวัฒนาการชายฝั่งจากอ่าวไทย

7

ผศ.ดร.วิษณุ สายศร

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การดำรงชีวิตและพฤติกรรมการกินอาหารของเต่าตนุ

8

ผศ.จันทิรา รัตนรัตน์

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการติดตามและสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

9

อาจารย์ ดร.จิรัฐิ สัตถาพร

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การศึกษาหญ้าชะเงาเต่า และโครงสร้างแบคทีเรีย ที่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดจาก Ocean worming และ Ocean acidification

10

อาจารย์ ดร.ธนกร จิวรุ่งเรืองกุล

คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เสื่อมหนักญ้าทะเล จ.ตรัง เข้าขั้นวิกฤต

จำนวนคนดู: 22